Saladpuk.com
🏆 เนื้อหาหลัก
🏆 เนื้อหาหลัก
  • 💖สลัดผัก
  • 📰มีอะไรใหม่บ้าง
    • 2020
      • 2020-11
      • 2020-10
      • 2020-09
      • 2020-08
      • 2020-03
      • 2020-02
      • 2020-01
    • 2019
      • 2019-12
      • 2019-11
      • 2019-10
      • 2019-09
      • 2019-08
  • 🤔อ่านเรื่องไรดี ?
  • มือใหม่หัดเขียนโค้ด
    • 👶เขียนโค้ดด้วยภาษา C#
      • เกิดมาไม่เคยเขียนโค้ดมาก่อนเบย
      • 👶พื้นฐาน
        • 1.โปรแกรมที่ต้องลง
        • 2.โครงสร้างของโค้ด
        • 3.ชนิดของข้อมูล
        • 4.การสร้างตัวแปร
        • 5.คำสั่งพื้นฐาน
        • 6.การแปลงข้อมูล
        • 7.การเปรียบเทียบค่า
        • 8.การตัดสินใจด้วย IF statements
        • 9.การตัดสินใจด้วย Switch statements
        • 10.การทำงานซ้ำๆด้วย While
        • 11.การทำงานซ้ำๆด้วย Do While
        • 12.การทำงานซ้ำๆด้วย For
        • 13.การแก้โจทย์จากรูป
        • 14.มารู้จักกับ Array กัน
      • 🧑ระดับกลาง
        • 15.Value type vs Reference type
        • 16.ลดงานซ้ำๆด้วย Method
        • 17.มารู้จักกับ Class & Field กัน
        • 18.มารู้จักกับ Constructor กันบ้าง
        • 19.มาเขียน Method ใน Class กัน
        • 20.มารู้จักกับ Property กัน
        • 21.ลองใช้คลาสแบบจริงจังบ้าง
        • 22.การสืบทอด Inheritance
        • 23.Polymorphism
        • 24.Abstract Class
        • 25.Interface
        • 26.Namespace
        • 27.Enum
        • 28.Exception handler
        • 29.ลงลึกกับ string
        • 30.StringBuilder เพื่อนคู่ string
      • 👨⏳ระดับสูง
        • Generic
        • Delegates
        • Action & Func
        • Lambda expression
        • LINQ
        • พระคัมภีร์การใช้คำสั่ง LINQ
      • 💡Tips
        • 💡C# version 8.0
        • 💡Boxing & Unboxing
    • 👶Algorithm
      • 👾Algorithm Big-O
      • 👽Algorithm P & NP
    • 👦OOP
      • 💖Abstraction
      • 💖Encapsulation
      • 🏆Abstraction & Encapsulation
      • 💖Inheritance
      • 💖Polymorphism
      • 🏆Inheritance & Polymorphism
      • 📝ลองเขียน OOP ดูดิ๊
      • 👑OOP + Power of Design
      • 🥰เทคนิคในการออกแบบ
    • 👶บทสรุปฐานข้อมูล
      • เก็บรูปในฐานข้อมูล
      • Database indexing
      • การลบข้อมูล
    • 👦Communication Patterns
    • 👦Design Patterns
      • 🤰Creational Patterns
        • 🏭Factory Method
        • 🏭Abstract Factory
        • ☝️ Singleton Pattern
        • 🏗️ Builder Pattern
        • 🎎Prototype Pattern
      • 🧱Structural Patterns
        • 🔌Adapter Pattern
        • 📪Proxy Pattern
  • Puzzle
    • 🧠Challenges
      • 🐴Google ม้า 25 ตัว
      • 🌉Amazon เสา 2 ต้น
      • 🥇ทองเก๊
      • 💊ยาต้านโควิด
      • 🎩CP หมวก 5 ใบ
      • 🧓Einstein's Riddle 01
  • พื้นฐานที่ควรต้องรู้
    • 🐳Docker
      • 📦Docker Containers
      • 🃏Docker Exercise 01
      • 🛠️ Docker Tools
      • 🗃️ Docker Registry
      • 🖼️ Container Image
      • 📢Docker Push
      • 🔄WSL
    • 👶Clean Code
      • 🧓Uncle Bob - Clean Code
      • 🧓Uncle Bob - Comments
      • 🧓Uncle Bob - Naming
      • 🧓Uncle Bob - Mindset
      • 🧓Uncle Bob - TDD
    • 👶Code Smells
    • 👶สิ่งที่คนเขียนโค้ดมักเข้าใจผิด
    • 👶AI พื้นฐาน
    • 👶Git พื้นฐาน
      • Git branching strategy
    • 👶Cloud พื้นฐาน
    • 👶UML พื้นฐาน
      • Activity Diagram
      • Class Diagram
      • Sequence Diagram
      • Use case Diagram
      • บทสรุปการใช้ UML
    • 👶Data Scientist
      • การเลือก Algorithms ให้ AI (1/5)
      • การเตรียมข้อมูลให้ AI (2/5)
      • หลักการตั้งคำถามให้ AI (3/5)
      • แฉความลับของ AI Model (4/5)
      • หัดเขียน AI จาก AI ของคนอื่น (5/5)
    • 👶DevOps พื้นฐาน
    • 👶Docker ขั้นพื้นฐาน
      • Image and Container
      • แชร์ Docker Image ที่สร้างไว้
    • 👶Microservices พื้นฐาน
      • Microservices ที่ดีมีลักษณะยังไง
      • Microservices Tips
      • จาก Monolith สู่ Microservices
    • 👶ความรู้พื้นฐานในการทำเว็บ
    • 👦Bottlenecks of Software
      • หัวใจที่สำคัญที่สุดของฐานข้อมูล
    • 👦Agile Methodology
      • Agile in a Nutshell
      • Software Development Life Cycle
      • Code Review
    • 👦Security พื้นฐาน
      • การเก็บรหัสผ่านที่ถูกต้อง
      • Security in actions
        • Hash function
      • Security Principles
      • 😎The Matrix 1
      • 😎The Matrix 2
      • HTTPS in a nutshell
    • 👦SOLID Design Principles
      • มารู้จักกับ SOLID กันดีกว่า
      • Single-Responsibility Principle
      • Open/Closed Principle
      • Liskov Substitution Principle
      • Interface Segregation Principle
      • Dependency-Inversion Principle
  • Cloud Computing
    • 👶Microsoft Azure 101
      • สมัคร Microsoft Azure
      • รู้จักกับ Resource Groups
      • สร้างเว็บตัวแรกกัน
      • สร้าง Virtual Machine กัน
      • ประเภทของคลาว์เซอร์วิส
      • มาสร้าง Logic App กัน
      • มาสร้าง Function App กัน
      • คลาว์คิดเงินยังไง ?
      • Cloud Native
      • Guideline for Cloud scaling
      • Auto Scaling
    • 👶Azure App Services
    • 👶App Service Plan
    • 👶Azure Storage
      • Blob storage
        • ลองสร้างที่เก็บไฟล์กันเลย
        • เข้าใจ Blob storage ให้มากขึ้น
        • ลองเขียนโค้ดอัพโหลดไฟล์กันบ้าง
        • สร้างเว็บจากที่ฝากไฟล์บนคลาว์
    • 👶Azure Bot Service
      • Bot เข้าใจเราได้ยังไงกันนะ
    • 👶Azure Cognitive Services
      • การสร้าง Cognitive Services
      • การ Login ด้วยใบหน้า
      • อ่านลายมือจากรูปเป็นตัวอักษร (OCR)
      • เขียน AI แยกของต่างๆทำยังไง?
      • เขียนแอพ ทายอายุ บอกเพศ ง่ายจิ๊ดเดียว
      • เขียนแอพให้ AI อธิบายรูปเป็นภาษาคน
    • 👶Machine Learning Studio
      • มาสร้าง AI ของแท้ตัวแรกของเรากัน
      • สร้าง AI ตัดสินใจอนุมัติบัตรเครดิต 💳
      • ลองเรียกใช้ AI ของเรากัน
    • 👶Azure Service Fabric
      • สร้าง Service Fabric กัน
    • 👶Blockchain
      • Blockchain ทำงานยังไง ?
      • Consensus Algorithm คืออะไร ?
      • สร้าง Blockchain ใช้เองกัน !
      • หัดเขียน Smart Contract กัน
    • 👶Power BI
    • 👶Azure Web App
      • เซิฟเวอร์บนคลาว์ ราคา? ต่าง?
    • 👶Azure DevOps
      • เล่น Azure DevOps กัน
      • เล่นกับ Repository
      • ลองทำ Continuous Integration (CI)
      • ลองทำ Continuous Delivery (CD)
      • เล่น Kanban Board
    • 🤠Cloud Playground
      • การป้องกันความลับหลุดตอนที่ 1
      • การป้องกันความลับหลุดตอนที่ 2
      • การป้องกันความลับหลุดตอนที่ 3
      • การป้องกันความลับหลุดตอนจบ
  • Software Testing
    • 👦Test-First Design
    • 👦Test-Driven Development
      • 1.มารู้จักกับ TDD กันดีกว่า
      • 2.Test cases เขาเขียนกันยังไงนะ
      • 3.เครื่องมือในการทดสอบ
      • 4.การใช้ Theory และ InlineData
      • 5.โค้ดที่ทดสอบได้
      • 6.Mantra of TDD
      • 7.Functional & None-Functional testing
      • 8.Manual vs Automation testing
      • 9.Automation Frameworks in .NET
      • 10.Mock Framework
      • 11.มาเรียนการใช้ Moq กันเถอะ
      • 12.สรุป
  • Web
    • 👦Web API
      • 1.Web API คืออะไร
      • 2.ติดตั้ง .NET Core SDK
      • 3.สร้าง Web API ตัวแรกกัน
      • 4.Verbs
      • 5.Swagger เพื่อคู่ API
      • 6.การใช้ Model
      • 7.เรียก Web API ผ่าน Postman
      • 8.มาจัดกลุ่ม API กัน (1/2)
      • 9.มาจัดกลุ่ม API กัน (2/2)
  • Software Design
    • 🤴Design Patterns
      • 🦈Creational patterns
        • Abstract Factory
        • Builder
        • Factory Method
        • Prototype
        • Singleton
      • 🦈Structural patterns
        • Adapter
        • Bridge
        • Decorator
        • Facade
        • Proxy
      • 🦈Behavioral patterns
        • Chain of Responsibility
        • Command
        • Iterator
        • Mediator
        • Memento
        • Observer
        • State
        • Strategy
        • Template Method
        • Visitor
Powered by GitBook
On this page
  • 😗 ทำความเข้าใจกันก่อน
  • 🤔 เริ่มยังไงดี ?
  • 🔥 (1) สร้าง Face Service กัน
  • 🔥 (2) สร้าง PersonGroup
  • 2.1.สร้างโปรเจค
  • 2.2.เขียนโค้ดสร้าง PersonGroup
  • 🔥 (3) สร้าง Person เข้าไปใน PersonGroup
  • 🔥 (4) ทำการอัพโหลดรูปเข้าไปใน Person
  • 🔥 (5) สั่งให้ AI เรียนรู้ใบหน้า (Train Model)
  • 🔥 (6) ลองอัพโหลดรูปไปทดสอบมันจิ๊
  • 🤔 ยาวจังของโค้ดทั้งหมดหน่อย
  • 🎯 บทสรุป

Was this helpful?

Export as PDF
  1. Cloud Computing
  2. Azure Cognitive Services

การ Login ด้วยใบหน้า

บอกลาการ login แบบเดิมๆไปได้เลย Face authentication มาแบ๊ว!

Previousการสร้าง Cognitive ServicesNextอ่านลายมือจากรูปเป็นตัวอักษร (OCR)

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

ในรอบนี้เราจะมาลองใช้ AI สำเร็จรูปของ Microsoft Azure เพื่อทำระบบ Login ด้วยใบหน้ากันดูบ้างว่าเขาทำยังไง โดยจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ แต่ในตัวอย่างจะใช้ C# นะ แต่ไม่ต้องห่วงตอนสุดท้ายมีบอกหมดว่าภาษาอื่นๆจะทำแบบนี้ได้ยังไง

แนะนำให้อ่าน บทความนี้เป็นหนึ่งในซีรี่ AI ดังนั้นถ้าเพื่อนสนใจของสนุกๆ เช่น หรือ ยืนยันตัวตนด้วยเสียง และอื่นๆ สามารถดูเนื้อหาทั้งหมดได้จาก side menu ในหมวดของ Cognitive Services ครับ กำลังทำเรื่อยๆอยู่ ส่วนถ้าอยากรู้ว่า AI สำเร็จรูปตัวอื่นๆของ Microsoft Azure มีอะไรน่าเล่นบ้าง ไปอ่านกันได้จากลิงค์นี้เลยครัช เชื่อผมเต๊อะ AI ไม่ได้ยากแบบที่คิด

😗 ทำความเข้าใจกันก่อน

ตัวโปรแกรมที่ผมจะทำ มันจะให้เราเลือกรูปที่จะใช้ในการ Login ซึ่งถ้ารูปนั้นเป็นใบหน้าที่ถูกต้อง มันก็จะให้เรา Login ผ่าน แต่ถ้ารูปไม่ถูกก็แค่บอกว่า Login ไม่ผ่านเพียงเท่านี้ ซึ่งตัวอย่างนี้ผมจะไม่ทำ UI เลยเพราะเน้นไปที่เรื่องการใช้ AI อย่างเดียวเท่านั้นครับ

อย่างที่บอกว่าตัวอย่างนี้ผมจะใช้ภาษา C# เขียน ดังนั้นใครที่จะทำตามด้วย C# รบกวนลง Visual Studio Code และ .NET Core SDK ด้วย ส่วนภาษาอื่นๆให้ดูขั้นตอนทั้งหมดให้เข้าใจก่อน แล้วตอนสุดท้ายจะมีบอกหมดเลยว่าทำยังไงเพราะขั้นตอนทั้งหมดมันเหมือนกันต่างกันแค่วิธีเขียน

🤔 เริ่มยังไงดี ?

ก่อนที่เราจะเริ่มเขียนโปรแกรมเราต้องเข้าใจก่อนว่าจะใช้งาน Face API นั้นเราต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้นด้านล่างนี้คือสิ่งที่เราต้องทำทั้งหมด

  1. สร้าง Face Serivce เพื่อจะได้ใช้ AI ได้

  2. สร้าง PersonGroup บน Azure ขึ้นมา เจ้าตัวนี้มีหน้าที่เก็บข้อมูลคนหลายๆคนไว้

  3. สร้าง Person เข้าไปใน PersonGroup หรือพูดง่ายๆคือสร้างคน

  4. อัพโหลดรูปของหน้าเราหลายๆรูปลงไปใน Person ที่สร้างขึ้นมา

  5. สั่งให้ AI เรียนรูปว่ารูปใน Person นั้นหน้าตาเป็นยังไง (เราเรียขั้นตอนนี้ว่า Train Model)

  6. ทดลองเอารูปที่จะใช้ Login ไปให้ AI ดูว่าเป็นคนเดียวกับที่อยู่ใน Person นั้นหรือเปล่า

จากที่ว่ามาเราก็จะเริ่มทำทีละขั้นตอนกันเลย เพื่อทำระบบ Login ด้วยใบหน้ากัน ปะลุยๆ

🔥 (1) สร้าง Face Service กัน

1.หลังจากที่ Login เข้ามาละ ที่เมนูด้านซ้ายมือให้เลือก + Create a resource ซะ แล้วเมนูในหน้าตรงกลางให้เลือก AI + Machine Learning แล้วจะเห็น Face ให้จิ้มมันเข้าไปเบย

2.ถัดมาก็ใส่รายละเอียดของ Face Service ให้เรียบร้อยซะ แล้วก็กดปุ่ม Create ได้เลย

ชื่อ

รายละเอียด

Name

ชื่อ Face Service ที่จะสร้าง

Location

ตัว service นี้จะสร้างไว้ภูมิภาคไหน

ในตัวอย่างผมเล่นในไทยก็เลือกเป็น Southeast Asia

Pricing tier

จะให้เขาเก็บเงินเราแบบไหน

ถ้าจะลองเล่นเฉยๆให้เลือก F0 ครับ ส่งข้อมูลได้ 30K ครั้ง/เดือน

3.เรียบร้อยครับ ที่เหลือก็แค่รอให้มันสร้าง Face Service จนเสร็จ

🔥 (2) สร้าง PersonGroup

ในขั้นตอนนี้ผมจะสร้างโปรเจคของ C# ขึ้นมา เพื่อเขียนโค้ดในการสร้าง PersonGroup ล่ะนะ ดังนั้นขอแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆนิดหน่อย

2.1.สร้างโปรเจค

เริ่มต้นก็เปิด command prompt หรือ terminal ขึ้นมาเลย แล้วใช้คำสั่งด้านล่างในการสร้างโปรเจคได้เลย

dotnet new console -n saladpuk-faceauth

saladpuk-faceauth คือชื่อโปรเจคนะครับ อยากได้ชื่ออื่นก็เปลี่ยนได้เลย

ตอนนี้เราก็จะได้โปรเจคมา 1 ตัวละ ถัดไปก็เข้าไปที่โปรเจคนั้นครับด้วยคำสั่งด้านล่างนี้ (ใครที่เปลี่ยนชื่อโปรเจคก็ใส่ชื่อเป็นชื่อโปรเจคที่ตัวเองตั้งไว้นะ)

cd saladpuk-faceauth

ทดสอบว่าโปรเจคไม่มีปัญหาอะไรด้วยคำสั่งด้านล่าง

dotnet build

ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็น่าจะได้ผลลัพท์ออกมาแบบนี้

Build succeeded.
    0 Warning(s)
    0 Error(s)

ในตัวอย่างนี้การที่เราจะเรียกใช้ Face API เราจะต้องทำงานผ่าน REST API ธรรมดานี่แหละ ดังนั้นเพื่อความง่ายผมจะลง library เสริม 2 ตัวเพื่อให้ทำงานกับ REST API และ Json ได้ง่ายขึ้นครับ โดยใช้คำสั่งด้านล่างก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

dotnet add package RestSharp --version 106.6.10
dotnet add package Newtonsoft.Json

คราวนี้ให้เราเปิด Visual Studio Code ขึ้นมา โดยใช้คำสั่ง code . ภายใน command prompt/terminal ได้เลย หรือจะเปิด Visual Studio Code แล้วเปิด folder มาที่ตัวโปรเจคก็ได้ แล้วก็เปิดไฟล์ Program.cs ขึ้นมารอเลย

Visual Studio Code: C# Extension ในตัวอย่างที่เป็นสีสวยงาม เพราะผมลง extension 2 ตัวให้กับ Visual Studio Code นะครับ ถ้าสนใจก็กดติดตั้งได้จากลิงค์ด้านล่างเลย

2.2.เขียนโค้ดสร้าง PersonGroup

ตอนนี้ให้เอาโค้ดด้านล่างไปทับใน Program.cs ทั้งหมดเลย ซึ่งเจ้าโค้ดด้านล่างจะเป็นแค่โครงคร่าวๆเท่านั้น

Program.cs
using System;
using System.Linq;
using System.Net;
using Newtonsoft.Json.Linq;
using RestSharp;

namespace saladpuk_faceauth
{
    class Program
    {
        static string SubscriptionKey = "FACE_SUBSCRIPTION_KEY";
        static string Endpoint = "FACE_ENDPOINT";

        static void Main(string[] args)
        {
            var client = new RestClient(Endpoint);

            // เขียนโค้ดต่อที่นี่
        }
    }
}

ในโค้ดด้านบน เราจะต้องไปเอา SubscriptionKey และ Endpoint มาใส่ให้มัน เพื่อที่มันจะได้ต่อไปยัง Face API ได้นั่นเอง ซึ่งเจ้าเราต้องกลับไปที่ Cognitive Service แล้วเลือกเมนู Keys เพื่อ copy ค่า SubscriptionKey มาครับ

ส่วนค่า Endpoint เราสามารถเอาได้จากเมนู Overview ครับตามรูปเลย

หลังจากที่เอา SubscriptionKey และ Endpoint ไปใส่ในโค้ดแล้ว ถัดไปเราก็จะเพิ่มโค้ดอีกนิสนุง เพื่อสร้าง PersonGroup นั่นเอง ตามโค้ดด้านล่างเบย

Program.cs
static string SubscriptionKey = "729c47c3f04346dd904cac8ef8181412";
static string Endpoint = "https://saladpuk-face.cognitiveservices.azure.com/face/v1.0";

static void Main(string[] args)
{
    var client = new RestClient(Endpoint);

    // สร้าง PersonGroup
    Console.WriteLine($"Create a PersonGroup.");
    var personGroupId = Guid.NewGuid().ToString().ToLower();
    var createPersonGroupReq = CreateRestRequest($"persongroups/{personGroupId}", new
    {
        name = "Prime Minister",
    });
    var createPersonGroupResult = client.Execute(createPersonGroupReq, Method.PUT);
    if (createPersonGroupResult.StatusCode == HttpStatusCode.OK)
    {
        Console.WriteLine($"-> Done. PersonGroup Id: {personGroupId}");
    }
    else
    {
        Console.WriteLine($"Error: {createPersonGroupResult.Content}");
        return;
    }

    // โค้ดขั้นตอนที่ 3 เอามาใส่ตรงนี้
}

static RestRequest CreateRestRequest(string resource, object requestBody)
{
    var request = new RestRequest(resource);
    request.AddHeader("ocp-apim-subscription-key", SubscriptionKey);
    if (requestBody != null)
    {
        request.AddHeader("content-type", "application/json");
        request.AddJsonBody(requestBody);
    }
    return request;
}

อธิบายโค้ด ในการสร้าง PersonGroup เราก็แค่เรียก REST API ไปโดยการส่ง SubscriptionKey ไปยัง Endpoint ของเราเพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้าง PersonGroup ได้แล้วครับ

🔥 (3) สร้าง Person เข้าไปใน PersonGroup

เพื่อให้ AI เรารู้จักคนได้หลายๆคน เราก็จะสร้าง Person ให้มันครับ โดยเขียนโค้ดตัวนี้ต่อเข้าไปใน method Main()

Program.cs
// สร้าง Person
var personId = string.Empty;
Console.WriteLine($"Create a Person");
var createPersonGroupPersonRequest = CreateRestRequest($"persongroups/{personGroupId}/persons", new
{
    name = "Prayut Chan O Char",
});
var createPersonGroupPersonResult = client.Execute(createPersonGroupPersonRequest, Method.POST);
if (createPersonGroupPersonResult.StatusCode == HttpStatusCode.OK)
{
    personId = JObject.Parse(createPersonGroupPersonResult.Content)["personId"].ToString();
    Console.WriteLine($"-> Done. {createPersonGroupPersonResult.Content}");
}
else
{
    Console.WriteLine($"Error: {createPersonGroupPersonResult.Content}");
    return;
}

อธิบายโค้ด ผมทำการสร้าง Person ที่ชื่อ Prayut Chan O Char ขึ้นมาภายใต้ PersonGroup ที่สร้างขึ้นมาจากขั้นตอน 2.2 ครับ

🔥 (4) ทำการอัพโหลดรูปเข้าไปใน Person

ถัดมาผมก็จะทำการอัพโหลดรูปคนเข้าไปใน Person โดยรูปที่ผมอัพโหลดเข้าไปจะเอามาจากเน็ทนะครับ ตามโค้ดและรูปด้านล่างเลย

Program.cs
// อัพโหลดรูปคนที่จะใช้ในการยืนยันตัวตน
Console.WriteLine("Uploading your images.");
var personImageUrls = new[]
{
    @"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9a/Prayut_Chan-o-cha_%28cropped%29_2016.jpg/220px-Prayut_Chan-o-cha_%28cropped%29_2016.jpg",
    @"https://www.straitstimes.com/sites/default/files/styles/article_pictrure_780x520_/public/articles/2018/09/24/yq-prayutchan-24092018.jpg",
    @"http://www.asianews.eu/sites/default/files/public/uploads/field_s_photos/prayut_chan-o-cha.jpg",
    @"https://i.pinimg.com/originals/f1/ea/c8/f1eac8e52461ac10c61089a3ffe2c016.jpg",
    @"https://pbs.twimg.com/profile_images/1084270206938099712/qR9TdPQD_400x400.jpg",
    @"https://news.mthai.com/app/uploads/2017/08/19-08-17.jpg",
    @"https://www.newsringside.com/wp-content/uploads/2018/01/4DQpjUtzLUwmJZZCzaRpSFJqsuBh3xw4QRClWyUWGED4.jpg",
    @"https://www.sunnewsonline.com/wp-content/uploads/2018/10/Thai-PM.jpg",
    @"https://images.financialexpress.com/2017/09/download-4-14.jpg",
    @"http://www.thaiembassy.org/hanoi/contents/images/text_editor/images/PM1.jpg",
};
var uploadedCounter = 0;
foreach (var imgUrl in personImageUrls)
{
    var addFaceRequest = CreateRestRequest($"persongroups/{personGroupId}/persons/{personId}/persistedFaces", new
    {
        url = imgUrl,
    });
    var addFaceResult = client.Execute(addFaceRequest, Method.POST);
    if (addFaceResult.StatusCode == HttpStatusCode.OK)
    {
        Console.WriteLine($"-> an image has been uploaded. {++uploadedCounter}/{personImageUrls.Count()}");
    }
    else
    {
        Console.WriteLine($"Error: {addFaceResult.Content}");
    }
}
Console.WriteLine("-> All Done.");

อธิบายโค้ด อันนี้ผมสร้างลิสต์ของรูปขึ้นมา แล้วก็ทยอยอัพโหลดเข้าไปใน Person ทีละอันจนครบครับ

🔥 (5) สั่งให้ AI เรียนรู้ใบหน้า (Train Model)

หลังจากที่เราอัพโหลดรูปไปเรียบร้อยแล้ว ถัดมาเราก็จะสั่งให้ AI ไปทำการเรียนรู้รูปพวกนั้น เพื่อสร้าง pattern ใบหน้าของคนใน PersonGroup ของเรา โดยผมก็จะเพิ่มโค้ดด้านล่างนี้เข้าไปครับ

Program.cs
// สั่งให้ AI เรียนรู้หน้าตาของ Person (Train Model)
Console.WriteLine("Training your model.");
var trainModelRequest = CreateRestRequest($"persongroups/{personGroupId}/train", null);
var trainModelResult = client.Execute(trainModelRequest, Method.POST);
if (trainModelResult.StatusCode == HttpStatusCode.Accepted)
{
    Console.WriteLine($"-> Done.");
}
else
{
    Console.WriteLine($"Error: {trainModelResult.Content}");
}

อธิบายโค้ด อันนี้ไม่มีอะไรเลยก็แค่เรียก REST API สั่งให้มัน Train ธรรมดา

ความแม่นยำของ AI ยิ่งเราเอารูปของคนๆนั้นให้ AI เรียนรู้เยอะมากเท่าไหร่ ความแม่นยำก็จะเพิ่มขึ้นเยอะเท่านั้น ดังนั้นถ้าจะทำระบบตรวจสอบใบหน้าจริงๆเราจำเป็นต้องส่งรูปขึ้นไปเยอะพอสมควรครับ แต่สำหรับตัวอย่างเอาแค่ 5-10 รูปก็เพียงพอแล้วครับ

🔥 (6) ลองอัพโหลดรูปไปทดสอบมันจิ๊

ในรอบนี้ผมก็จะลองส่งรูปที่ไม่ใช่หน้าลุงเข้าไปดูซิว่ามันจะ บอกว่ายังไงโดยใช้รูปและโค้ดด้านล่างนี้ครับ

Program.cs
static void Main(string[] args)
{
    ...

    // ทดสอบว่ารูปคนอื่นสามารถยืนยันตัวตนได้หรือไม่
    var thaksinResult = IdentifyAnImage(client, personGroupId, personId, "https://www.prachachat.net/wp-content/uploads/2017/09/13814050451381405054l.jpg");
    Console.WriteLine($"The result from using Thaksin's image is: {thaksinResult}");
}

static bool IdentifyAnImage(RestClient client, string personGroupId, string personId, string imagePath)
{
    var detectFaceRequest = CreateRestRequest("detect?returnFaceId=true", new
    {
        url = imagePath,
    });
    var detectFaceResult = client.Execute(detectFaceRequest, Method.POST);
    if (detectFaceResult.StatusCode == HttpStatusCode.OK)
    {
        var faceId = JArray.Parse(detectFaceResult.Content).First["faceId"].ToString();
        var verifyRequest = CreateRestRequest("verify", new
        {
            faceId = faceId,
            personId = personId,
            personGroupId = personGroupId,
        });
        var verifyResult = client.Execute(verifyRequest, Method.POST);
        if (verifyResult.StatusCode == HttpStatusCode.OK)
        {
            var confidenceText = JObject.Parse(verifyResult.Content)["confidence"].ToString();
            var confidence = double.Parse(confidenceText);
            return confidence >= 0.75;
        }
        else
        {
            Console.WriteLine($"Error: {verifyResult.Content}");
            return false;
        }
    }
    else
    {
        Console.WriteLine($"Error: {detectFaceResult.Content}");
        return false;
    }
}

อธิบายโค้ด ในรอบนี้ผมก็จะส่งรูปคนอื่นเข้าไปเทียบกับลุงแล้วเช็คว่ามีความใกล้เคียงกันกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในโค้ดผมบอกว่าต้องใกล้เคียงกัน 75% ขึ้นไปนะถึงจะผ่าน

สุดท้ายผมก็ลองเพิ่มโค้ดเพื่อเอารูปลุงแกไปตรวจสอบจริงๆละ โด้ยใช้รูปที่ไม่เคยส่งให้ AI เห็นมาก่อน และใช้โค้ดตามด้านล่างนี้

Program.cs
static void Main(string[] args)
{
    ...

    // ทดสอบว่ารูปที่ถูกต้องสามารถยืนยันตัวตนได้หรือไม่
    var prayutResult = IdentifyAnImage(client, personGroupId, personId, "https://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1EaLUGBbZOOxIXurh1BCeiRWkxZwq.jpg");
    Console.WriteLine($"The result from using Prayut's image is: {prayutResult}");
}

อธิบายโค้ด ก็ตรงตัวครับแค่เอารูปลุงไปตรวจสอบว่าเป็นคนเดียวกับรูปที่เราส่งไปให้ AI หรือเปล่า

จากทั้งหมดที่ทำมา เราก็จะทำการลอง Run กันนะครับ โดยกด CTRL + F5 หรือจะใช้คำสั่ง dotnet run ก็ได้ครับ ซึ่งก็จะได้ผลลัพท์ออกมาแบบนี้

Create a PersonGroup.
-> Done. PersonGroup Id: 342ca65d-0bd4-43ce-82d7-4f9ab0fc7c71
Create a Person
-> Done. {"personId":"f248ba40-dedc-44cd-ad7f-abc7e8ed2a4c"}
Uploading your images.
-> an image has been uploaded. 1/10
-> an image has been uploaded. 2/10
-> an image has been uploaded. 3/10
-> an image has been uploaded. 4/10
-> an image has been uploaded. 5/10
-> an image has been uploaded. 6/10
-> an image has been uploaded. 7/10
-> an image has been uploaded. 8/10
-> an image has been uploaded. 9/10
-> an image has been uploaded. 10/10
-> All Done.
Training your model.
-> Done.
The result from using Thaksin's image is: False
The result from using Prayut's image is: True

จากผลลัพท์ก็จะเห็นแล้วนะครับในบรรทัดที่ 18 ว่าเราไม่สามารถเอาคนอื่นมาแอบอ้างเป็นลุงได้ และในบรรทัดที่ 19 เราก็สามารถเอารูปลุงที่ AI ไม่เคยเห็นมาก่อนมาทำการยืนยันตัวตนได้ว่านี่คือรูปลุงจริงๆนะได้

🤔 ยาวจังของโค้ดทั้งหมดหน่อย

ผมรอพิมพ์ถึงตรงนี้เหมือนกัน ง่วงนอนมากละตอนทำเรื่องนี้ แต่พอดีเนื้อหาค่อนข้างยาวดังนั้นผมขอยก source code ให้ไปดาวโหลดมาลองเล่นเลยดีกว่าครับ

🎯 บทสรุป

ในการทำงานกับ AI จริงๆไม่ใช่เรื่องยากเลยหัวใจหลักของมันจริงๆก็คือการเรียกใช้ REST API ให้ถูกตัวเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าเราจะเขียนภาษาไหนก็ตาม เราก็สามารถเรียกใช้ Face API เพื่อทำของประมาณนี้ได้เลย

Cognitive Services API หากใครสนใจอยากดู API ทั้งหมดที่ Microsoft เตรียมไว้ให้เราเรียกใช้ AI สำเร็จรูป ก็สามารถเข้าไปดูได้จากลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ

Cognitive Services Library สำหรับคนที่ต้องการเขียนทำงานกับ Cognitive Services จริงๆไม่ต้องไปนั่งเขียนเชื่อม API ทีละตัวก็ได้นะ เพราะทาง Microsoft นั้นได้มี Library ให้เราสามารถเรียกใช้ได้เลยครับ เช่นในฝั่ง .NET ก็จะมีตัวนี้ Microsoft.Azure.CognitiveServices.Vision.Face ที่สามารถติดตั้งแล้วใช้งานได้เลย

Azure Portal เนื้อหาตรงจุดนี้จะต้องเข้าไปที่ทำที่เว็บ นี้นะครับ ซึ่งเราต้องสมัครสมาชิกก่อน แต่ถ้าใครยังไม่ได้สมัครก็ไปสมัครให้เรียบร้อยแซ๊ร

👶
Login ด้วยใบหน้า
แปลงภาพเป็นข้อความ
👶 Azure Cognitive Services
Download Visual Studio Code
Download .NET Core SDK
https://portal.azure.com
(วิธีสมัครจิ้มตรงนี้)
C#
C# Extensions
Microsoft Cognitive Services API
4KB
saladpuk-faceauth.zip
archive
Source code: Face authentication
ถ้าไม่เห็นผมเขียนบทความต่อ ก็แสดงว่าโดนปรับทัศนคติอยู่นะ
ลองดูซิว่าคนนี้จะแอบมาสวมรอยเป็นลุงได้ไหมนะ ?
ป๊ายทัศนะศึกษาซักเดือนไม๊ ?