🛠️ Docker Tools

อยากใช้เจ้าวาฬน้ำเงินแต่ขี้เกียจจำคำสั่งทำไงดี 🤔

🤠 จาก บทความที่ 3 เราได้ลองใช้เจ้าวาฬน้ำเงิน 🐳 ครั้งแรกแล้วก็จะพบว่า มีแต่ Command Line เต็มจอไปหมด ซึ่งบางคนก็ขี้เกียจที่จะไปนั่งจำคำสั่งพวกนั้นทั้งหมด ดังนั้นในบทความนี้เรามาลองเล่น Docker แบบไม่ใช้ CLI กันดีก่าาาา

แนะนำให้อ่าน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ส 🐳 Docker ที่จะสอนตั้งแต่เรื่องพื้นฐานยันระดับ master กันไปเลย ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจและใช้งาน Docker โดยใช้ Kubernetes เป็น และสามารถสร้าง Cluster เพื่อนำไปใช้งานบน Cloud Providers ต่างๆได้ และทั้งหมดที่พูดมานั้นอ่านได้ฟรีเลย ดังนั้นหากสนใจก็สามารถกดเจ้าวาฬสีน้ำเงินเพื่อไปอ่านตั้งแต่เริ่มต้นได้ครัช 🤠

🐳 Docker Desktop

🔥 Dashboard

ตอนที่เราติดตั้ง Docker นั้นเราจะได้โปรแกรม 🐳 Docker Desktop มาด้วย ซึ่งเราสามารถใช้งานมันได้ง่ายๆโดยการดับเบิลคลิกตัว Icon พี่วาฬที่อยู่มุมจอของเรา หรือจะคลิกขวาเพื่อเปิด Dashboard ก็ได้เช่นกัลลล์

ตัว 🐳 Docker Desktop เมื่อถูกเปิดขึ้นมา เราจะเห็นแถบอยู่ 2 อันคือ 📦 Containers กับ 🖼️ Images ตามรูปด้านล่าง (เครื่องป๋มใช้ Dark theme มันเลยเป็นสีดำ)

🔥 Run an image

ในบทความนี้เครื่องผมไม่มี Containers หรือ Images อยู่เลย ดังนั้นทั้ง 2 แถบเลยว่างโล่งโจ้ง ดังนั้นเราก็จะลองเอา Image ตัวฝึกหัดมาลองใช้งานอีกครั้ง โดยการใช้คำสั่งด้านล่างใน Command Prompt (ไหนบอกไม่ใช้ CLI 🤪)

docker pull docker/getting-started

เมื่อเสร็จแล้วลองมาดูที่แถบ 🖼️ Images ใหม่อีกครั้งก็จะเห็น Image ที่เราพึ่งดาวโหลดลงมา ตามรูปด้านล่าง

คราวนี้ถ้าเราอยากเอา 🖼️ Container Image ตัวนั้นไปสร้างเป็น 📦 Container เราก็แค่เลื่อนเมาส์ไปที่ image ตัวนั้นๆ แล้วเลือกคำสั่ง RUN ตามรูปด้านล่าง

หากเราต้องการ Map PORT หรือทำ Volume ก็ให้กดที่ Optional Settings ได้เบย (Volume จะมีสอนในบทความถัดๆไป)

ที่รายการ setting ป๋มต้องการแค่จะ Map PORT 80 เหมือนใน บทความที่ 3 เท่านั้น ดังนั้นก็ใส่ค่าตามรูปด้านล่างแล้วกด RUNโลด

เพียงแค่นี้เจ้า 🐳 Docker ก็จะไปสร้าง Container ตัวใหม่ให้เรา แถมยังพาเรามาที่แถบ 📦 Containers อีกด้วย ซึ่งเราก็จะเห็นตัว Container ตัวนั้นพร้อมสถานะของมันตามรูปด้านล่าง

🔥 Containers

รายการ 📦 Containers เราสามารถเลือกตัวที่เราสนใจเพื่อทำรายการต่างๆกับมันได้ เช่น อยากเข้าไปดูเว็บตัวนั้น ก็สามารถกดที่ปุ่ม Open in browser เขาก็จะเปิดตัวเว็บที่ container ตัวนั้นๆทำงานอยู่ขั้นมาให้เรา ตามรูป

ส่วนคำสั่งอื่นๆก็น่าจะตรงตัว ดังนั้นเพื่อนๆลองเล่นได้เต็มที่เลย (ถ้า container พังก็กดลบทิ้งแล้วสร้างใหม่ 🤣)

คำสั่ง CLI จะเป็นการเข้าไปข้างใน Container แล้วทำงานกับมันด้วย CLI (เหมือน remote เข้าเครื่อง ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายอีกทีในบทความถัดๆไป)

🔥 Images

กลับมาที่แถบ 🖼️ Images เมื่อเลื่อนเมาส์ไปใกล้ๆเราก็จะเห็นปุ่ม ... แล้วเมื่อคลิกมันก็จะแสดงรายการคำสั่งขึ้นมาให้ใช้ ดังนั้นถ้าเราอยากจะจัดการอะไรกับมันก็มาที่ตรงนี้แหละ ส่วนคำสั่งแต่ละตัวเดี๋ยวไปดูรายละเอียดในบทความถัดๆไปละกันนะ แต่ที่แน่ๆตอนนี้เรารู้จักคำสั่ง Remove แน่นอน 🤣

🛠️ Visual Studio Code

ตัวโปรแกรม VS Code ที่ช่วยให้ขาเดฟเขียนงานกันก็มี Extensions ช่วยให้เราทำงานกับ 🐳 Docker ด้วยนะ ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือยังไม่ได้ลงก็สามารถกดดาวโหลดได้จากลิงค์นี้เลยครัช https://code.visualstudio.com

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วเลือก Extension ที่อยู่ด้านซ้ายมือ แล้วทำการค้นหาด้วยคำว่า docker ซึ่งน่าจะได้ผลลัพท์มาเป็นตัวแรก (ที่มันติดดาว) ให้คลิกมันไป 1 จึ๊ก แล้วจะเห็นปุ่ม Install ก็กดติดตั้งไปอย่ารอช้า

หลังจากติดตั้งเสร็จเราก็จะเห็น Icon ปลาวาฬโผล่มาที่ด้านซ้ายมือ ให้ลองจิ้มอย่างแผ่วเบาไป 1 จึ๊ก แล้วเราก็จะเห็นรายการ 📦 Containers กับ 🖼️ Images ที่เรามีอยู่ในเครื่อง ตามรูปด้านล่าง

🔥 Run an image

ในบทความนี้เครื่องผมไม่มี Containers หรือ Images อยู่เลย ดังนั้นทั้ง 2 แถบเลยว่างโล่งโจ้ง ดังนั้นเราก็จะลองเอา Image ตัวฝึกหัดมาลองใช้งานอีกครั้ง โดยการใช้คำสั่งด้านล่างใน Command Prompt (ไหนบอกไม่ใช้ CLI 🤪)

docker pull docker/getting-started

เมื่อเสร็จแล้วลองมาดูที่แถบ 🖼️ Images ใหม่อีกครั้งก็จะเห็น Image ที่เราพึ่งดาวโหลดลงมา ตามรูปด้านล่าง

คราวนี้ถ้าเราอยากเอา 🖼️ Container Image ตัวนั้นไปสร้างเป็น 📦 Container เราก็แค่คลิกขวาแล้วเลือก RUN เท่านั้นเอง ซึ่งพอรอสักครู่เราก็จะเห็น Container ของเราโผล่มาละ ตามรูปด้านล่าง

🔥 Containers

รายการ 📦 Containers เราสามารถเลือกตัวที่เราสนใจเพื่อทำรายการต่างๆกับมันได้ เช่น อยาเข้าไปดูเว็บตัวนั้น ก็ให้คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Open in Browser เขาก็จะเปิดตัวเว็บที่ container ตัวนั้นๆทำงานอยู่ขั้นมาให้เรา ตามรูป

🎯 Summary

จากทั้งหมดที่พาเล่นไปก็น่าจะเห็นแล้วนะว่าการเล่นกับพี่วาฬ 🐳 Docker นั้นไม่ยากอย่างที่คิดเลยชิมิ แถมจริงๆเครื่องมือที่จะช่วยให้เราทำงานกับพี่วาฬก็ไม่ได้มีแค่นี้นะลองไปหาดูก็จะพบอีกเพียบเบย

คำเตือน เครื่องมือมันช่วยให้เราทำงานได้โดยไม่ต้องไปนั่งจำ Commands ก็จริง แต่ถ้าเราจะใช้ Docker จริงๆจังๆที่เป็น Production grade แล้วล่ะก็ สิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้ Command Line ต่างหาก เพราะตัว Commands จริงๆมันมี options & parameters ให้เยอะยั๊วเยี๊ยเต็มไปหมด จนตัว Tools ไม่สามารถเอามาแสดงได้หมดด้วยซ้ำ ไม่เชื่อลองใช้คำสั่ง docker --help ดูจิ แล้วลองใช้ --help กับคำสั่งแต่ละคำสั่งลงไปอีก ก็จะเจอ options ขึ้นมาเต็มไปหมดเบย 🤣

หลังจากที่ได้เห็นตัวอย่างการใช้งาน Docker ขั้นพื้นฐานละ เดี๋ยวในบทความถัดไปเราจะลงรายละเอียดเรื่อง 🗃️ Docker Registry กันต่อ เพื่อเตรียมตัวสร้าง 🖼️ Container Image เป็นของตัวเอง จะได้เอาไว้ใช้พัฒนาต่อกับคนในทีมนั่นเองกั๊ฟ

page🗃️ Docker Registry

อ่านแล้วชอบป๋มก็ขอฝากแชร์ หรือกดติดตามเพื่อจะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆจาก ดช.แมวน้ำ ได้จากลิงค์นี้เบยครัช Saladpuk Fanclub 😍

Last updated