6.การใช้ Model

💬 ถ้าเราเริ่มเขียน API ไปได้ซักพักเราจะเริ่มรู้สึกหงุดหงิดกับ parameters ที่ใช้รับส่งกันของ API (หรือผมเป็นอยู่คนเดียวหว่า) เช่น ถ้าผมต้องการรับข้อมูลนักเรียน ผมก็ต้องเขียน parameter ให้เป็นตามโค้ดด้านล่าง ซึ่งมันไม่สนุกเลยถ้าข้อมูลนักเรียนมีเยอะมากจริงๆ ดังนั้นในรอบนี้เราจะลองใช้ model มาช่วยในการทำงานที่ตรงกับ programming ยุคนี้กัน

[HttpPost("{id}/{name}/{age}")]
public void CreateNewStudent(string id, string name, int age)
{
  // Do something
}

🎯 สรุปสั้นๆ

👨‍🚀 ข้อดีในการนำ model มาช่วย

  1. ลดความวุ่นวายของโค้ดลง

  2. จัดการโค้ดได้เป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น

  3. เวลาแก้ไข แก้แค่ที่เดียว แล้วทุดจุดที่ใช้ model นั้นๆก็จะถูกแก้ไปด้วย

JSON เวลาที่ตัว Web API มันส่งข้อมูลหากัน มันจะส่งข้อมูลผ่านไปในรูปแบบที่เรียกว่า JSON (เจสัน หรือ เจซอน ก็ได้อ่านได้ทั้งสองสำเนียง) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ text ซึงสามารถดูตัวอย่างของ JSON ได้จากตัวอย่างด้านล่างครับ

ข้อมูลที่ส่งผ่าน Web API ไม่จำเป็นต้องเป็น JSON เสมอไปนะครับ ขึ้นอยู่กับ protocol ที่กำหนดไว้ครับ

👨‍🚀 ตัวอย่างข้อมูลในรูปของ object และ JSON

สมมุติว่าเรามีข้อมูลในรูปของ object เป็นภาพนี้

Student s1 = new Student
{
  Id = "S01",
  Name = "Sakul",
  Age = 18
};

พอเราส่งข้อมูล object นั้นออกมาสู่โลกของ Web API ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ JSON เราจะได้มันออกมาเป็นตามด้านล่างครับ

{
  "id": "S01",
  "Name": "Sakul",
  "Age": 18
}

Last updated