Database indexing

🤔 ฐานข้อมูลช้าทำไงดีฉบับเบื้องต้น

😢 ปัญหา

ดช.แมวน้ำ เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานกับ database มาซักพัก ก็น่าจะมีความความรู้สึกว่า เธอไม่เหมือนเดิม ยิ่งนานวันยิ่งช้า ยิ่งอืด แข็งข้อบอกอะไรก็ไม่ค่อยจะยอมทำให้ และวันดีคืนดีก็หยุดทำงานไปดื้อๆซะอย่างนั้น แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไงดีน๊าาาา (ผมพูดถึง database ไม่ได้อ้างถึงเมียแต่ประการใด หยุดส่งไปหาเมียผมได้แล้ว 🤕)

แนะนำให้อ่าน สำหรับใครที่ยังออกแบบ database ไม่เป็น ยัง งงๆ อยู่ว่าตารางนี้ควรจะเก็บอะไรดี หรือ Normalization คืออะไร? ความรู้ส่งคืนครูหมดแล้ว ก็สามารถไปศึกษาต่อได้จากลิงค์นี้เบยครัช 👶 บทสรุปฐานข้อมูล

😄 วิธีแก้ปัญหา

สาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่ว่ามา จริงๆมันมีหลายปัจจัยเลย แต่โดยพื้นฐานที่คนทั่วไปนิยมทำก็คือการทำ Database indexing นั่นเอง เพราะมันทำได้ง่าย ไม่ต้องพึ่งพาใคร ไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่ม และ มันเร็วขึ้นจริง

แนะนำให้อ่าน เรื่องการทำ database indexing มันเป็นแค่ตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยให้มันเร็วขึ้นได้ แต่มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งพอผ่านไปซักพักใหญ่ๆ เดี๋ยวมันก็จะกลับมาช้าเหมือนเดิมแหละถ้าต้นสาเหตุของมันไม่ถูกแก้ไข ซึ่งถ้าเพื่อนๆสนใจอยากรู้ว่าปัญหามันเกิดจากอะไรได้บ้าง ลองไปศึกษาได้จากลิงค์นี้เบย 👦 Bottlenecks of Software อยู่ๆแอพที่ทำก็ช้าเป็นเต่าเฉยเลย เกิดจากอะไรและแก้ไงดี ? หัวใจที่สำคัญที่สุดของฐานข้อมูล ความรู้เบื้องต้นของฐานข้อมูลที่โปรแกรมเมอร์ 90% ไม่รู้

🤔 มันช้าลงได้ไง ?

🔥 จุดเริ่มต้น

ในวันแรกที่เราสร้าง database ขึ้นมาใหม่ๆ สดๆ ซิงๆ มีข้อมูลอยู่น้อยๆข้างใน ตามรูปด้านล่าง

คราวนี้ถ้าเราส่งคำสั่งไปดึงข้อมูล โดยเอาเฉพาะคนที่อยู่จังหวัดกรุงเทพออกมาดิ๊ ตามโค้ดด้านล่าง

selecte * from Users where จังหวัด = 'กรุงเทพ';

เมื่อเราสั่งให้มันทำงาน database ก็จะวิ่งเข้าไปที่ตาราง User เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีจังหวัดเป็นกรุงเทพกลับมาให้ ดังนั้นเราก็จะได้ผลลัพท์กลับมาประมาณนี้

จุดที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือเจ้า database มันจะต้อง 🎯 ไล่ดูข้อมูลตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้าย เพื่อลิสต์เอาเฉพาะข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขส่งกลับมานั่นเอง ดังนั้นตัว database ของเราทุกคนจะทำงานได้ไวมากในช่วงแรกๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ ข้อมูลมันน้อย ทำให้มันวิ่งไล่ตั้งแต่ไฟล์แรกยันไฟล์สุดท้ายได้ไวยังไงล่ะ

🔥 ความหฤหรรษ์บังเกิด

หลังจากที่เราใช้งานตัว database ไปได้ซักระยะ ตอบไม่ได้ว่านานแค่ไหน เพราะมันขึ้นอยู่กับ มันมีการเขียนไฟล์เยอะไหม? ไฟล์ใหญ่ใหม่? โค้ดที่เขียนกากหรือเปล่า? บลาๆ แต่ที่แน่ๆที่มันต้องเกิดกับทุกคนคือ ข้อมูลมันเยอะขึ้น ตามรูปด้านล่าง

จากรูปด้านบน บางคนอาจจะดูเหมือนไม่เยอะ แต่ถ้าผมให้คุณลองหาข้อมูลเฉพาะที่อยู่ในกรุงเทพให้หน่อยดิ๊ ผมเชื่อว่าอย่างน้อยก็ใช้เวลา 3-5 วิ หรือมากกว่านั้นในการหาแน่นอน เพราะต้องกวาดตาไล่อ่านทีละอันชิมิ? ดังนั้น database ก็เช่นกัน เพราะไม่ว่าข้อมูลจะมากจะน้อย มันก็ต้องไล่ตรวจทีละข้อมูลตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้ายอยู่ดียังไงล่ะ ตามรูปด้านล่างเลย

ลองจินตนาการง่ายๆ ว่าตัว database ของเราก็เหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองเล่นหนาๆซักเล่ม แล้วก็มีคนมาสั่งให้เราไปหาเบอร์โทร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยไม่บอกเลยว่าอยู่จังหวัดไหนดู นั่นแหละงานช้างเลย เพราะเราก็ต้องไปไล่อ่านทีละบรรทัดว่า อันไหนเป็นโรงพยาบาล และ ต้องเป็นโรงพยาบาลที่ชื่อ สรรพสิทธิประสงค์ ด้วยนะ

ลองคิดดู ถ้ามันมีข้อมูลเป็นล้านๆข้อมูลล่ะ? ถ้าเราใส่เงื่อนไขที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่านี้ล่ะ? ถ้าเราทำการ Join ตารางด้วยล่ะ? ถ้าเรา Transform data ด้วยล่ะ? (พอๆชักเยอะ) นี่แหละคือ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฐานข้อมูลของเรามันช้าลงไปเรื่อยๆ นั่นเอง

🤔 มันจะเร็วขึ้นได้ไง ?

จากที่ร่ายยาวมาทั้งหมดด้านบน ปัญหาของมันจริงๆก็คือ ทุกครั้งที่มันต้องไปค้นหาข้อมูล มันจะต้องไปไล่ดูตั้งแต่ข้อมูลตัวแรกยันตัวสุดท้ายเสมอ นั่นเอง แม้ว่าจะเป็นคำสั่งแบบเดิมเป๊ะๆก็ตาม

จากปัญหาที่ว่ามาแนวคิดในการแก้ปัญหาก็คือ อย่าให้มันไปไล่หาแบบนั้นดิ ดังนั้น การทำ Database indexing ก็จะมาช่วยจัดระบบเบียบในการค้นหาใหม่ ทำให้มันเข้าถึงข้อมูลที่มันต้องการได้เร็วขึ้นนั่นเอง ดังนั้นถ้าเรามีข้อมูลเยอะๆประมาณรูปด้านล่างนี้

เราก็แค่ทำการสร้าง indexing ให้กับตาราง Users ตามโค้ดด้านล่าง

CREATE INDEX idx_province ON Users (จังหวัด);

ซึ่งเจ้า indexing มันจะทำการแยกออกเป็นข้อมูลอีกชุดนึง โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีในตาราง Users ตามรูปด้านล่าง

โดยทั้งหมดนี้เจ้ากลุ่ม Indexing ก็จะจำว่าข้อมูลแต่ละกลุ่มมันอยู่ตรงไหนบ้าง ตามรูปด้านล่าง

ดังนั้นเมื่อเราส่งคำสั่งให้มันไปค้นหาข้อมูล เฉพาะคนที่อยู่จังหวัดขอนแก่น ลงไปปุ๊ป เจ้า database ก็จะดูว่ากลุ่มของจังหวัดขอนแก่นอยู่แถวๆไหนบ้าง ซึ่งมันก็จะทำให้มันเร็วขึ้นเพราะมันไม่ต้องวิ่งไปไล่ตรวจข้อมูลตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้ายอีกแล้วนั่นเองขอรับ

🤔 มีข้อเสียป่ะ ?

ของทุกอย่างมันย่อมมีข้อดีและข้อเสียเสมอแหละ แม้ว่าตัว Database indexing มันจะช่วยทำให้เราวิ่งตรงไปหาข้อมูลได้เลย โดยอาศัยตาราง index เป็นเหมือนกับสารบัญก็ตาม แต่สิ่งที่แลกกับความสามารถนั้นก็คือ ตัวตาราง index เองนั่นแหละ

ตัวตาราง index นี้มันจะช่วยให้ การค้นหา (Query) ทำได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องไล่มันทุกข้อมูลแล้ว แต่เราต้องแลกกับความช้าตอนทำ Insert, Update, Delete แทน เพราะว่า เวลาที่ข้อมูลในตารางที่ index มันดูแลอยู่มีการเปลี่ยนแปลง มันก็ต้องไปอัพเดทตาราง index ด้วยยังไงล่ะ และ มันต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลสำหรับ index เพิ่มด้วยเช่นกัน ตามรูปด้านล่าง

Last updated