การลบข้อมูล
🤔 เวลาจะลบข้อมูลควรทำยังไงกันนะ ?
😥 ปัญหา
บางทีข้อมูลที่เราลบไปแล้วก็ดันมีกรณีให้เราเอามันกลับมา และบางทีการลบข้อมูลก็ทำให้ database เร็วขึ้นและช้าลงได้ด้วยนะ แล้วเราจะแก้ยังไงหว่า ?
แนะนำให้อ่าน สำหรับใครที่ยังออกแบบ database ไม่เป็น ยัง งงๆ อยู่ว่าตารางนี้ควรจะเก็บอะไรดี หรือ Normalization คืออะไร? ความรู้ส่งคืนครูหมดแล้ว ก็สามารถไปศึกษาต่อได้จากลิงค์นี้เบยครัช 👶 บทสรุปฐานข้อมูล
😄 วิธีแก้ปัญหา
แทนที่เราจะลบข้อมูลทิ้งทั้ง record จริงๆเราก็แค่ทำ Delete Flag
ง่ายๆไว้แทนงุยล่ะ เช่น เรามีข้อมูลอยู่ในตารางประมาณนี้
แล้วด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เรามีความจำเป็นต้องลบ records สีแดงทิ้งไป 2 ตัว ตามรูปด้านล่าง
เราก็แค่สร้าง Delete Flag ขึ้นมาช่วยในการลบซะ โดยแมวน้ำแนะนำว่าควรจะใช้ วันที่และเวลา
เป็น flag นะจ๊ะ ตามรูปด้านล่าง
จากตารางด้านบน เมื่อเราอยากจะเอาไปใช้เราก็แค่ filter เอาเฉพาะตัวที่ DeletionDate = null ไปใช้เท่านั้นยังไงล่ะ ส่วนถ้าใครซีเรียสขึ้นอีกหน่อยก็อาจจะเก็บลงไปต่อด้วยว่า ใครเป็นคนลบข้อมูลพวกนี้ต่อได้อีกนะ ตามรูปดเานล่างเบย
เพียงเท่านี้ข้อมูลของเราก็จะไม่ได้หายไปจริงๆ แถมมี history record ที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนหลังเพิ่มเข้ามาด้วยแล้วขอรับ และ ถ้าอยากจะย้อนสถานะกลับมาก็เพียงแค่กำหนดค่ากลับให้เป็น null ก็เป็นอันเรียบร้อย
🤕 ข้อควรระวัง 1
ตามบทความก่อนหน้าที่เคยบอกไปว่า ยิ่งฐานข้อมูลใหญ่เท่าไหร่มันจะยิ่งช้า ดังนั้นการทำแบบนี้สำหรับ database บางตัวและบางเวอร์ชั่น จะมีปัญหาในการทำแบบนี้ เพราะข้อมูลเราไม่เคยถูกลบเลยจริงๆจังๆนั่นเอง (Relational Database จะมีปัญหากับเรื่องนี้เยอะกว่า NoSQL) ดังนั้นเราควรมีการกำหนดเวลาลบข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานๆทิ้งไปด้วย
ข้อควรระวัง การลบข้อมูลในที่นี่หมายถึงการย้ายข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานๆ ไปพักเก็บอีกที่ นะ ซึ่งเราเรียกข้อมูลพวกนั้นว่า Archive data เพราะวันดีคืนดี เราอาจจะต้องเอามันกลับมาใช้ก็ได้ เช่น ลูกค้าอยากจะดูรายการสั่งซื้อย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมาไรงี้ ถ้าเราลบทิ้งทั้งหมดก็จบกัน และไม่ควรเก็บมันไว้ใน Hot data ด้วย
เกร็ดความรู้ ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ส่วนใหญ่เราจะแยกมันออกมาได้ 3 ประเภทตามด้านล่าง ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีการดูแลและความถี่ในการเรียกใช้งานที่ต่างกันครัช
Hot data - ข้อมูลมีการเรียกใช้บ่อยๆ เช่น ข้อมูลที่แสดงในหน้ารายการสินค้า ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับตัวนี้อยู่แล้ว
Cool data - ข้อมูลถูกเรียกใช้ไม่ค่อยบ่อยเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับข้อมูลที่เก่าแต่ไม่เก่ามาก และ รวมถึงใช้เป็น backup data ด้วย
Archive data - ข้อมูลที่ไม่ถูกเรียกใช้เลย ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เก่าม๊วกๆๆ เช่น ข้อมูลสั่งซื้อที่ผ่านมาแล้ว 1 ปี ซึ่งข้อมูลพวกนี้ถ้าเก็บไว้ใน cloud จะถูกม๊วกๆ แต่ถ้าจะเรียกใช้มันจะมีค่าใช้จ่ายที่เยอะกว่าปรกติ แถมต้องรอมันดึงข้อมูลอาจจะ 30 นาทีหรือเป็นชั่วโมงเลยก็ได้
ตามที่เขียนไว้ใน ข้อควรระวัง การลบมันจะต้องเป็นการย้ายจากที่นึงไปพักไว้อีกที่นึง ไม่ใช่ลบทิ้งถาวร (Hard delete) เพื่อเป็นการ backup เผื่อกรณีที่จำเป็นต้องเรียกใช้จริงๆนั่นเอง เพราะอย่าลืมว่าในสมัยนี้ ข้อมูลคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการมี data ไว้ก่อนย่อมดีกว่า (ถ้าไม่ใช่ data ขยะ ส่วนเรื่อง fresh data ก็ว่ากันไปตามเรื่องอะนะ) และอย่าลืมวางแผนคุยกันว่าจะย้ายจะลบอะไรบ้างนะ ไม่งั้นทีมตีกันตายแน่เลย
🤕 ข้อควรระวัง 2
การลบข้อมูลแบบถาวร (Hard delete) ในบางทีจะมีปัญหากับ DBMS ได้ เพราะตอนที่เราเขียนข้อมูล ตัวระบบมันจะจัดการให้ข้อมูลแต่ละอย่างมีการเรียงต่อกัน ซึ่งข้อมูลพวกนั้นตอนที่เอาไปเขียนลง physical disk จริงๆมันจะอยู่ address ใกล้ๆกัน ตามรูปด้านล่าง
แต่เมื่อเรามีการลบข้อมูลนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะเป็นแบบในรูปด้านล่างนี้
ซึ่งจริงๆความหมายก็ไม่ได้มีอะไรผิดแปลกไปนะ แต่ตอนที่มันวิ่งไปอ่านข้อมูล ตัว OS มันจะต้องวิ่ง a01 แล้วกระโดดข้ามไปที่ a04 ยังไงล่ะ แถมถ้าเราเพิ่มข้อมูลเข้าไปใหม่ อีก 2 record มันอาจจะเกิดเป็นภาพนี้ก็ได้
ดังนั้นเรื่องการ delete record ไปเยอะๆ ก็จะทำให้เกิดปัญหาในการ access address เพราะมันจะต้องกระโดดข้ามไปอ่าน pointer ในแต่ละจุดไปๆมาๆนั่นเอง ดังนั้นเราก็ควรจะมีวาระในการจัดการ disk ของเราด้วยนะจ๊ะ
🤔 ทำแบบนี้มีข้อเสียป่าว ?
แน่นอนครับของทุกอย่างย่อมมีด้านมืดและสว่างในตัวมันเอง ดังนั้นวิธีการทำ Delete Flag แบบนี้ก็มีข้อเสียที่เจอได้บ่อยๆนั่นก็คือ
ชัดเจนที่สุดคือ เปลืองพื้นที่ เพราะมันไม่ถูกลบออกไปจริงๆ
เวลาที่ดึงข้อมูลไปใช้เราจะต้องจัดการเอาตัวที่มี
Delete Flag
ออกก่อนเสมอ นั่นหมายความว่ามันจะต้องเปลือง Computing Power มากขึ้น และ มีโอกาสผิดพลาดสูงขึ้นถ้าลืมกันการที่ข้อมูลไม่ถูกลบออกไปจริงๆ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง Reservation เช่น Username นี้จะไม่สามารถใช้ได้อีกเลย (กรณีนี้ขึ้นอยู่กับ business requirements ว่าจริงๆมันควรจะเป็นยังไง)
ในบางกรณีที่มี constrain ว่าลบแม่แล้วลูกต้องถูกลบตายตามกันไป ถ้าเราใช้ Delete Flag นั่นหมายความว่าเราต้องมั่นใจในการทำ event sourcing เพื่อตามไป Flag ตัวลูกด้วยนั่นเอง
เครดิต ดช.แมวน้ำ ต้องขอขอบคุณข้อแนะนำของท่าน Pramoth Suwanpech ด้วยขอรับ ที่ช่วยชี้แนะว่าบทความนี้ตกเรื่องอะไรไป จุ๊ฟๆ 😘
Last updated