ลองเขียนโค้ดอัพโหลดไฟล์กันบ้าง
Last updated
Last updated
หลังจากที่เราได้ลองสร้าง Azure Storage และทำการอัพโหลดไฟล์ผ่านหน้าเว็บไปแล้ว ในรอบนี้เราจะลองเขียนโค้ด เพื่อทำการจัดการของต่างๆใน Azure Storage กันดูบ้างนะ ส่วนใครที่ยังไม่ได้อ่านการอัพโหลดผ่านเว็บลองไปอ่านได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
ในรอบนี้ผมจะใช้ภาษา C# .NET Core เขียนโค้ดนะครับ ส่วนภาษาอื่นๆไม่ต้องน้อยใจ ด้านล่างสุดผมทำลิงค์ของพวกภาษา Java, Node.js, Python, JavaScript, Go, PHP, Ruby ไว้เรียบร้อยแล้วลองดูได้
ในรอบนี้ผมจะใช้ .NET Core ในการสร้างโปรเจคนะครับ ดังนั้นเริ่มต้นก็เปิด command prompt หรือ terminal ขึ้นมาเลยแล้วใช้คำสั่งสร้างโปรเจคกันเลย ส่วนใครที่ยังไม่ได้ลง .NET Core ก็สามารไปลงได้จากลิงค์นี้ครับ Download .NET Core
blob-quickstart คือชื่อโปรเจคนะครับ อยากได้ชื่ออื่นก็เปลี่ยนได้เลย
ตอนนี้เราก็จะได้โปรเจคมา 1 ตัวละ ถัดไปก็เข้าไปที่โปรเจคนั้นครับด้วยคำสั่งด้านล่างนี้ (ใครที่เปลี่ยนชื่อโปรเจคก็ใส่ชื่อเป็นชื่อโปรเจคที่ตัวเองตั้งไว้นะ)
ทดสอบว่าโปรเจคไม่มีปัญหาอะไรด้วยคำสั่งด้านล่าง
ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็น่าจะได้ผลลัพท์ออกมาแบบนี้
ตัวโปรเจคที่เราสร้างขึ้นมามันจะไม่สามารถทำงานกับ Azure Storage ได้ ดังนั้นเราเลยต้องลง library เสริมโดยใช้คำสั่งด้านล่างก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
คราวนี้ให้เราเปิด Visual Studio Code ขึ้นมา โดยใช้คำสั่ง code .
ภายใน command prompt/terminal ได้เลย หรือจะเปิด Visual Studio Code แล้วเปิด folder มาที่ตัวโปรเจคก็ได้ แล้วก็เปิดไฟล์ Program.cs
ขึ้นมารอเลย
(ใครที่ยังไม่มี Visual Studio Code สามารถดาวโหลดได้จากลิงค์นี้นะ Download Visual Studio Code)
Visual Studio Code: C# Extension ในตัวอย่างที่เป็นสีสวยงาม เพราะผมลง extension 2 ตัวให้กับ Visual Studio Code นะครับ ถ้าสนใจก็กดติดตั้งได้จากลิงค์ด้านล่างเลย
ถัดมาผมก็จะเขียนโค้ดให้มันเตรียมทำงานกับ Azure Storage ไว้ประมาณนี้นะครับ
ตัวโค้ดจะเรียกใช้งาน method ProcessAsync()
ซึ่งผมตั้งใจว่าจะให้มันเป็นตัวติดต่อไปทำงานกับ Blob storage ดังนั้นเราก็แก้เจ้า method นี้ตามด้านล่างเลย
ในโค้ดด้านบนเราจะทำการเชื่อมต่อไปยัง Blob Storage ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นมันจะต้องการ Key บางอย่างเพื่อยืนยันว่าคนที่ต่อเข้ามามีสิทธิ์ที่ถูกต้องด้วย (ในโค้ดบรรทัดที่ 3) ดังนั้นในขั้นตอนถัดไปเราก็จะไปเอา Key มาครับ
ตัวโค้ดที่เราจะเขียนนั้น มันจะต้องติดต่อไปที่ Azure Storage เพื่อทำการอัพโหลดของต่างๆเข้าไป ซึ่งการที่จะทำแบบนั้นได้เราจะต้องไปเอาสิทธิ์ในการอ่านเขียนไฟล์มาก่อน ดังนั้นเราก็จะไปเอาสิทธิ์ที่ว่านี้จาก Storage account ของเรา โดยเข้าไปที่ Azure portal แล้วเปิด Storage account ของเราขึ้นมาแล้วเลือกไปที่เมนู Access keys
ภายใน Access keys เขาจะมี key ให้เรา 2 ตัว ส่วนเราจะใช้ key ตัวไหนก็ได้ ซึ่งในตัวอย่างผมจะใช้ key1 นะครับ ดังนั้นก็กด Copy Connection string มาเลย
คราวนี้เราก็จะเอา connection string ที่ copy มาไปวางใส่ในโค้ดของเรา ในบรรทีดที่ 3 ก็จะได้ประมาณนี้ครับ
ข้อควรระวัง สำหรับงานที่เป็น production จริงๆไม่ควรทำแบบนี้นะครับ มันจะกลายเป็น hard code ซึ่งถ้าเราจะเปลี่ยน connection string เมื่อไหร่ก็ต้อง compile ใหม่ทุกครั้ง ของจริงควรเขียนเป็น configuration ที่แก้ไขได้อีกทีครับ และการไปเอา connection string ตัวจริงมาใช้ก็ไม่เหมาะครับ มันมีการเข้าถึง key ได้หลายแบบเลยเช่น SAS อะไรพวกนี้ ซึ่งเดี๋ยวในบทถัดๆไปจะกล่าวถึงอีกทีครับ
ตอนนี้โค้ดเราก็น่าจะสามารถเชื่อมต่อ Blob Storage ได้แล้วนะครับ
ถัดมาเราก็จะลองสร้าง Container ขึ้นมาเพื่อเอาไว้เก็บไฟล์ที่เราจะอัพโหลดขึ้นไปนะครับ ซึ่งในตัวอย่างผมจะสร้าง Container ชื่อ saladpuk-upload-by-code ซึ่งผมก็จะไปแก้ไขโค้ดที่อยู่ใน if
กันนะให้เป็นแบบนี้
เจ้าตัว Container ที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่นี้ โดยปรกติมันจะโดนกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงเป็น private หรือพูดง่ายๆคือไม่เปิดให้คนอื่นดูเลยนอกจากคนที่มีสิทธิ์ แต่ในตัวอย่างนี้ผมจะเปิดสิทธิ์ให้คนอื่นเข้าถึงได้ เพราะจะทำเป็นคล้ายๆเว็บฝากรูป ดังนั้นผมก็จะเขียนโค้ดต่อใน if
อีกนิดหน่อยเพื่อกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงมันใหม่ตามนี้
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ Container ใหม่แล้วนะครับ
ถัดมาผมก็จะเขียนโค้ดอัพโหลดรูปในเครื่องขึ้นไปที่ Blob Storage นะครับ ซึ่งรูปของผมอยู่ที่ d:\saladpakLogo-05.png
และผมจะตั้งชื่อที่อัพโหลดขึ้นไปให้ชื่อว่า img01.png
ด้วยดังนั้นผมเขียนโค้ดภายใน if
ออกมาเป็นแบบนี้
เป็นอันเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นผมก็จะลองสั่งให้มันทำงานดู โดยการเข้าไปที่ command prompt/terminal โดยการใช้คำสั่งนี้
ในหน้าจอ command prompt/terminal ก็น่าจะได้ผลลัพท์แบบนี้ (ถ้าไม่ได้ลองไปตรวจดูนะว่าทำขั้นตอนไหนผิด)
ไฟล์ที่เราอัพโหลดเข้าไปจะอยู่บนคลาว์ดังนั้นเราก็ต้องเข้าไปดูที่ตัว Blob Storage ของเราครับ
เราก็จะเจอ Container ใหม่ที่เราสร้างขึ้นมาจากโค้ด ให้ลองกดมันเข้าไปเลย
แล้วเราก็จะเจอรูปของเรา ก็ให้กดมันเข้าไปอีกที
ถัดมาเราก็กด copy ลิงค์แล้วลองเอาไปเปิดดูใน web browser ดูครับ
เรียบร้อยแล้วครับ เราสามารถอัพโหลดรูปขึ้นไปบน Azure Storage ได้แล้ว และเรียกดูเหมือนเว็บฝากไฟล์ได้แบ้ว
พอเขียนบทความนี้เสร็จปุ๊ป ทาง Microsoft ก็ส่งอีเมล์แจ้งเตือนมาทันทีเลยว่า ตรวจพบ security รั่วเนื่องจากผมเอา secret ของตัว Azure Storage ไปเปิดเผยต่อสาธารณะในบทความนี้ไงล่ะ (ผมลิงค์บทความเข้ากับ GitHub) นี่คือข้อดีอีกเรื่องของการที่เราใช้คลาว์ของ Microsoft ครับ ทำให้เราอุ่นใจขึ้นเยอะเลยว่าของหลายๆอย่างเราสามารถป้องกันก่อนที่มันจะร้ายแรงจนแก้ไม่ได้ครับ
ซึ่งเขาก็บอกรายละเอียดไว้ครบถ้วนเลย พร้อมวิธีแก้ปัญหา ดังนั้นผมก็เลยต้องไป reset key ทั้ง 2 ออกครับ (แต่จริงๆผมไม่ต้องทำก็ได้ เพราะ Storage ตัวนี้เดี๋ยวก็ลบทิ้งละเพราะเขียนบทความเสร็จแล้ว)