Facade
Last updated
Was this helpful?
Last updated
Was this helpful?
Provide a unified interface to a set of interfaces in a subsystem. Façade defines a higher-level interface that makes the subsystem easier to use.
ทำให้ของที่ใช้งานยากๆซับซ้อนๆ สามารถใช้งานได้แบบง่ายๆ
สร้าง class ที่ทำงานกับ subsystem ที่วุ่นวายๆ แล้วจัดการเรื่องที่ client ต้องเรียกใช้ทั้งหมด
สร้างช่องทางให้ client เรียกใช้งานแบบง่ายๆ
สมมุติว่าเรากับอิคิวซังกำลังเขียนโค้ด เพื่อต่อกับ library ที่ใช้ในการควบคุมระบบไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียอยู่ ซึ่งภายใน library นี้มีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น ระบบหล่อเย็น ระบบความดัน และระบบควบคุมอื่นๆอีกมากมายที่ทำงานร่วมกันอยู่ ซึ่งเจ้าระบบที่ว่ามานี้มีความละเอียดอ่อนสูงมาก ถ้าเราจะสั่งให้ระบบแต่ละตัวทำงาน ระบบนั้นๆจะต้องตรงเงื่อนไขของมันก่อนถึงจะสั่งให้มันทำงานได้ และการสั่งในแต่ละขั้นตอนต้องเป็นตามลำดับที่ถูกกำหนดไว้ ไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้ เช่นก่อนจะสตาร์ตระบบความดัน ระบบหล่อเย็นจะต้องถูกสตาร์ตก่อน ไม่งั้นกาจเกิดความเสียหายต่อระบบนั้นๆได้
แค่ได้ยินก็ปวดหัวละ แต่การที่จะให้เณรน้อยไปออกแบบระบบไฟฟ้านิวเคลียนี่ปวดตับกว่า แต่งานก็คืองาน ดังนั้น อิคิวกับเราจะออกแบบโค้ทของเรายังไงกันดี เพื่อให้มันสามารถทำงานกับ library นั้นได้ โดยที่โค้ดของเราจะต้องไม่ไปผูกติด (coupling) อยู่กับ class ต่างๆของ library ที่ว่ามานี้ และเราก็ไม่อยากให้โค้ดเราซับซ้อบแบบระบบพวกนั้นด้วยเช่นกัน
นั่งสมาธิรอจนกว่าจะได้ยินเสียงปิ๊ง! มาม่าก็จะสุกพอดี แล้วอิคิวซังก็จะบอกกับเราว่า ใช้ Facade
ดิ!! (ผมเริ่มสงสัยเบื้องหลังของวัดนี้แล้วละ)
ซึ่งอิคิวซังก็ได้อธิบายต่อว่า Facade
คือ class ธรรมดา 1 ตัวนี้แหละ แต่มันจะช่วยไปจัดการเรื่องยากๆทั้งหมดให้เรา แล้วเมื่อไหร่ที่เราจะเรียกใช้งานเรื่องยากๆพวกนั้น มันก็จะมีช่องทางง่ายๆให้เราเรียกใช้
หลังจากที่อิคิวเห็นเราทำหน้า งงๆ เขาก็พล่ามต่อโดยไม่สนใจเราว่า การที่มี Facade มันจะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เมื่อเราต้องไปทำงานกับ library ที่ค่อนข้างซับซ้อน มี feature เยอะๆ แต่เราใช้งานแค่ไม่กี่ feature ของมันเท่านั้น
อธิบาย Facade - ตัวที่ช่วยลดความซับซ้อนให้ client โดยเปิดค่อยช่องทางให้ client เรียกใช้งานง่ายๆเอาไว้ ส่วนการทำงานที่มันต้องไปเรียกอะไรต่อจะถูกจัดการไว้ที่นี่ Additional Facade - Facade อื่นๆที่คอยทำงานให้กับ subsystem อื่นๆ มีไว้เพื่อให้ Facade อื่นเรียกใช้ เพราะบางทีการเขียนทุกอย่างไว้ที่ facade ตัวเดียวอาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ Complex Subsystem - (ก้อนที่มันเขียนว่า Subsystem หลายๆอัน) คือกลุ่มของระบบที่มีอะไรเยอะแยะวุ่นวายๆอยู่ด้วยกัน เพื่อทำงานบางอย่าง ซึ่งเจ้าก้อนพวกนี้แหละที่ Facade จะมาทำงานด้วย ซึ่งเจ้าพวก subsystem ทั้งหมดนั้นจะไม่รู้ถึงการมีอยู่ของ facade เลย
สมมุติว่าเราต้องการอัพโหลดไฟล์ VDO ขึ้นไปบน PornHub (วีดีโอไรหว่า) ถ้าเรามานั่งคิดดูถึงขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์ vdo เราก็จะพบว่ามันมีขันตอนค่อนข้างจุกจิกอยู่นะเช่น ปรับขนาดไฟล์ให้เหมาะสม, เข้ารหัสให้ถูกฟอร์แมตที่เว็บนั้นๆจะใช้, จัดการคุณภาพเสียง บลาๆ แล้วก็อัพโหลดขึ้นเซิฟเวอร์ (อิคิวซังแอบกระซิบมาว่า ระบบสมัยใหม่ขั้นตอนวุ่นวายๆพวกนี้จะอยู่ที่เซิฟเวอร์หมดแล้วนะครับ)
จากที่ว่ามาทั้งหมดนั่น ถามว่าจริงๆ client ต้องไปยุ่งกับเรื่องพวกนั้นไหม? ไม่ใช่เขาแค่ต้องการจะอัพโหลดไฟล์เหรอ?
ดังนั้นการที่เราเอา Facade เข้ามาช่วย เมื่อ client ต้องการจะอัพโหลดไฟล์ เขาก็แค่เรียกใช้ method ที่ชื่อว่า Upload ของ Facade ก็พอ สวนที่เหลือมันต้องเอา vdo ของเราไปทำอะไรต่อ ก็จะเป็นหน้าที่ของ facade ที่ไปจัดการต่อให้นั้นเอง นี้แหละคือประโยชน์ของ Facade
ทำเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่าย ปะไปดูโค้ดตัวอย่างกัน
โค้ดของเราไม่ไปผูกติดกับ subsystem ที่วุ่นวาย
เจ้าตัว Facade จะกลายเป็น God object และตัวมันจะผูกติดกับ subsystem ที่มันทำงานอยู่
Output