Builder
Last updated
Last updated
The intent of the Builder design pattern is to separate the construction of a complex object from its representation. By doing so the same construction process can create different representations.
แยกการสร้าง object ที่ต้องอาศัยขั้นตอนการสร้างที่ซับซ้อนออก และช่วยให้เราสามารถสร้าง object ประเภทอื่นๆที่มีขั้นตอนการสร้างแบบเดียวกันได้
แยกขั้นตอนการสร้าง object ออกไปให้ Builder
รับผิดชอบ (อาจจะมี builder เพื่อใช้สร้าง object หลายๆแบบก็ได้)
แยกลำดับขั้นตอนการประกอบ object ออกไปให้ Director
รับผิดชอบ (ภายใน director จะมีวิธีการประกอบ object หลายๆแบบก็ได้)
Client เมื่อต้องการสร้าง object ก็จะส่ง Builder ไปให้ Director เพื่อให้สร้างของที่ตัวเองต้องการออกมา
สมมุติว่าเรามี class ตัวหนึ่ง ที่มีขั้นตอนในการสร้างค่อนข้างยุ่งยากหลายขั้นตอน เช่น ต้องสร้างของหลายๆอย่างให้กับ constructor แถมยังต้องไปกำหนดค่าให้กับ field & property ต่างๆ หรืออาจจะรวมถึงต้องไปเรียกใช้ initialization method อีกด้วย
ลองคิดดูสิถ้าเราต้องสร้าง object จาก class ที่ว่านี้ขึ้นมา มันจะทำให้ client code ของเราวุ่นวายขนาดไหน
แล้วถ้าเรามี class ลักษณะนี้อีกหลายๆตัวละ!! client code ของเราน่าจะกลายเป็นสปาเก็ตตี้แน่นอน (เละ)
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเรามาลองสมมุติว่า
ถ้าเราอยากจะเขียนโค้ด เพื่อสร้างบ้านแบบเรียบง่ายซักหลัง สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือไปสร้าง House
object ใช้ปะ
แต่แค่ new House() ขึ้นมา มันยังไม่จบเท่านั้นละ เช่น เราต้องไปคอยกำหนดอีกว่า บ้านจะมีกำแพงกี่อัน, มี่กี่ชั้น, ประตูหน้าต่างทำจากอะไร แถมต้องไปสร้างหลังคาให้มันด้วย (จากที่ว่ามาเนี่ยแหละ complex object)
แต่ปัญหาของมันไม่ได้มีอยู่แค่นี้ เพราะถ้าโปรแกรมของเราเริ่มต้องการบ้านแบบอื่นๆบ้างละ เช่น บ้านไซต์ใหญ่กว่าปรกติ, มีสนามหญ้าด้วย, มีโรงรถ, มีสระว่ายน้ำ, มีรูปปั้นสวยๆประดับบ้าน แค่คิดก็ปวดหัวละ ถ้าต้องไปสร้าง object บ้านพวกนั้น
ซึ่งจากที่ว่ามาเราก็อาจจะไปสร้าง subclass เพื่อทำหน้าที่จัดการบ้านแต่ละประเภทที่ยกต้วอย่างไปก็ได้นิน่า ตามรูปด้านล่าง
แต่การทำแบบนี้กำยังมีปัญหาอยู่ดี เช่นอยู่มาวันหนึ่งบ้านจะต้องมีระเบียงด้วย มันก็จะทำให้เราก็ต้องไปแก้ไข subclass พวกนั้นให้รองรับเรื่องระเบียงด้วย
ซึ่งจากภาพ แค่เพิ่มเรื่องระเบียงเข้าไป 1 เรื่อง เรากลับต้องไปแก้ 4 subclass เลยนะ!! แล้วถ้าเรามี subclass เยอะๆละ ... แค่คิดก็ปวดตับละ
งั้นมาลองวิธีที่ไม่ต้องไปวุ่นว่ายกับ subclass ดูบ้างซิ คือลองทำให้ House class
รองรับบ้านทุกรูปแบบเลย โดยแค่ส่ง parameter ต่างๆที่ใช้กำหนดข้อมูลของบ้าน เช่น จำนวนกำแพง, จำนวนชั้น, ประตูหน้าต่าง ฯลฯ เข้ามาก็น่าจะได้นิน่า ตามรูปด้านล่าง
วิธีนี้ใครเคยทำบ้างยกมือโหน่ย XD
ซึ่งข้อเสียของวิธีนี้คือ มันมี parameter มากเกินความจำเป็น ซึ่งบ้านบางประเภทก็ไม่ได้ต้องการ parameter บางตัวเลย ทำให้ parameter ส่วนใหญ่ที่ส่งเข้ามาไม่มีประโยชน์ที่จะเอาไปใช้ แต่มันบังคับให้เราต้องส่งไปด้วย
แล้วเราจะแก้ไขปัญหาพวกนี้ยังไงดีหว่า ??
หลักการของ Builder pattern นั้นแนะนำให้เราแยกขั้นตอนการสร้าง object ที่ซับซ้อนออกมาจาก class ของมัน ไปไว้ใน class ที่เรียกว่า Builder
จากรูปจะเห็นว่าขั้นตอนการสร้าง object เช่น สร้างกำแพง, สร้างประตู, สร้างหน้าต่าง ... ถูกย้ายออกไปอยู่ใน HouseBuilder
แล้ว
และ HouseBuilder
จะเป็นคนดูแลวิธีการในการสร้าง house object ทั้งหมดให้เราเอง เช่น WoodenHouseBuilder สำหรับสร้างบ้านไม้
เดี๋ยวซิ บ้านของเรามันไม่ได้มีแค่บ้านไม้นะ บางหลังก็ทำจากอิฐ บางหลังทำจากเพชรนะ (บ้านบ้าพระทำจากเพชร)
สำหรับกรณีนี้เราก็แค่สร้าง Builder
ออกมาหลายๆแบบซิ ซึ่ง builder แต่ละตัวก็จะมีขั้นตอนการ implement method ในการสร้างบ้านไม่เหมือนกัน เช่น
WoodenyHouseBuilder - ภายใน method ของมันก็จะเขียนให้สร้างบ้านขึ้นมาจากไม้
BrickHouseBuilder - ภายใน method ของมันก็จะเขียนให้สร้างบ้านขึ้นมาจากอิฐ
DiamonHouseBuilder - ภายใน method ของมันก็จะเขียนให้สร้างบ้านขึ้นมาจากเพชร
ตามรูปด้านล่าง
จากรูปจะเห็นว่า Builder แต่ละประเภทจะสร้างบ้านออกมาตามลักษณะงานของมันเอง
แต่การมีแค่ Builder แค่นี้มันยังไม่จบนะ เพราะ builder ก็เปรียบเสมือนชนชั้นแรงงานที่คอยสร้างของต่างๆให้เรา
หรือจินตนาการง่ายว่า ถ้าเรามีแค่ Builder มันก็เหมือนกับเราไปสั่งคนงานให้สร้าง กำแพง, ประตู, หน้าต่าง เอาไว้ ส่วนมันจะเอามาประกอบกันยังไง เราก็ต้องทำเองหมดเลยอะดิ
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นมันหมายความว่า client code จะต้องเรียก method ของ builder แต่ละตัวเอง เพื่อนำมาประกอบเป็นบ้าน (Product
) มันหมายความว่าโค้ดเราก็จะวุ่นวายอยู่ดี
จากที่โม้มาด้านบน เราเลยต้องมี class อีกกลุ่มหนึ่งที่คอยควบคุมคนงานเหล่านั้นอีกที ซึ่งเราเรียกมันว่า Director
Director
จะมีหน้าที่ในการเรียกใช้งาน method ต่างๆที่อยู่ใน Builder
เพื่อสร้างบ้านในแบบที่เราอยากได้ขึ้นมา
(จินตนาการง่ายๆ คนคุมการสร้างบ้านรู้ว่าเราอยากได้บ้านแบบไหน แต่เขาสร้างของต่างๆไม่เป็น เลยทำให้ต้องไปเรียกใช้คนงานมาสร้างแบบต่างๆ ซึ่งคนงานจะรู้ว่าถ้าอยากได้บ้านไม้ต้องสร้างยังไง หรือ อยากได้ประตูอิฐจะต้องสร้างยังไง แล้ว Director ก็จะเอาของที่ได้มาไปประกอบกันอีกที)
จากที่ว่ามามันจะทำให้ client สามารถสร้าง object บ้านแบบที่อยากได้ เพียงแค่สั่ง director คนเดียวก็พอ แล้วที่เหลือ director ก็จะไปเรียกใช้ builder ให้มาสร้างของตามที่เราอยากได้มาให้เรานั่นเอง
หายปวดหัวแว๊ว XD
อธิบาย Builder - เป็น interface ที่รวมขั้นตอนในการสร้าง product มีอะไรบ้าง Concrete Builders - (ConcreteBuilder 1&2) เป็น class ที่ลงรายละเอียดจริงๆว่าขั้นตอนแต่ละขั้นตอนต้องทำยังไง Products - (Product 1&2) คือของที่จะได้จากที่ builder สร้าง (builder แต่ละตัว อาจจะได้ product เดียวกันหรือต่างกันก็ได้) Director - เป็น class ที่คอยกำหนดว่าจะเรียกใช้ method อะไรของ Builder บ้าง รวมถึงลำดับก่อนหลังในการเรียกด้วย เพื่อใช้ในการสร้าง product ให้ client Client - ทำงานกับ director โดยแค่ส่ง builder ต่างๆไปให้ director เท่านั้นแล้วก็รอรับ product ไปใช้งาน
ตัวอย่างนี้เป็นการจำลองใช้ Builder ไปสร้างรถเกียร์ออโต กับเกียร์ธรรมดา
จากภาพจะเห็นว่าเมื่อ client ต้องการรถแบบไหนก็เพียงแค่ส่ง Builder ไปให้กับ Director ก็พอ
Director ก็จะไปเรียกใช้ method ต่างๆของ builder เพื่อสร้างรถออกมา
Method ของ Builder แต่ละแบบก็จะทำงานไม่เหมือนกัน เช่น รถเกียร์ธรรมดาก็ใช้ Manual object
สามารถสร้าง object ที่มีขั้นตอนการสร้างอันซับซ้อนได้เรื่อยๆ
รองรับ product แบบอื่นๆที่มีขั้นตอนในการสร้างเหมือนกันได้
ถูกหลัก Single Responsibility Principle
เพิ่มความซับซ้อนให้กับโค้ด เพราะต้องไปสร้าง class มากมาย
Output