มาสร้าง Logic App กัน
Last updated
Last updated
💬 รอบนี้จะมาสร้างโปรแกรมโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเลยซักบรรทัด ด้วย service ที่ชื่อว่า Logic App กันดูบ้างละกัน ซึ่งเจ้า Logic app จะอยู่ในโมเดลที่เรียกว่า SaaS (Software as a service) ถ้าใครยังไม่รู้จัก Cloud model สามารถอ่านได้จากลิงค์นี้เบย จิ้มตรงนี้เบาๆนะ
Azure Portal จะทำตามในรอบนี้ให้เข้าไปที่ https://portal.azure.com เน่อ ส่วนถ้าใครยังไม่ได้สมัครก็ไปสมัครให้เรียบร้อยแซ๊ร (วิธีสมัครจิ้มตรงนี้)
1.ที่เมนูด้านซ้ายมือให้เลือก Resource groups ซะ แล้วในหน้าตรงกลางให้เลือกชื่อ Resource group ที่เราสร้างไว้
2.หลังจากที่เข้ามาใน Resource group แล้วให้กดปุ่ม + ที่มุมบนซ้ายของเมนู
3.ระบบจะพาเราไปที่หน้า Marketplace ซึ่งในหน้า marketplace นี้เป็นหน้าหลักในการเลือก service ที่เราจะทำการสร้าง ซึ่งในรอบนี้เราจะพิมพ์ในช่องค้นหาว่า Logic App แล้วกด Enter เลย
4.ถัดมาเขาก็จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Logic App ว่ามันคืออะไร จะไปศึกษาลองเล่นต่อได้ยังไง ราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนคิดยังไง บลาๆ ก็ถ้าอ่านจนหนำใจแล้วก็จิ้มปุ่ม Create เบาๆไป 1 ทีงับ
5.ในขั้นตอนถัดมาเขาก็จะถามรายละเอียดของ Logic App ของเรา ซึ่งในส่วนนี้ก็ค่อยๆเลือกใส่ทีละอันเลย แล้วพอใส่เสร็จก็กดปุ่ม Create โลด
6.รอจนกว่าจะเสร็จก็เป็นอันเสร็จพิธี
จากขั้นตอนด้านบน มันเป็นการสร้าง service ที่เรียกว่า Logic App ขึ้นมาเฉยๆ ซึ่งขั้นตอนถัดไปเราก็จะทำการกำหนดว่าจะให้แอพตัวนี้ทำงานอะไรบ้าง ตามขั้นตอนด้านล่างนี้เลย
1.เข้าไปที่ resource group ที่สร้างไว้ แล้วจะเห็น Logic App โผล่ขึ้นมาละ ให้จิ้มสัมผัสมันเบาๆอย่างอ่อนโยน 1 ที
2.เขาจะพาเรามาหน้า Logic App Designer ซึ่งเจ้าหน้านี้แหละเราจะมากำหนดว่าจะให้แอพของเราทำงานอะไรบ้าง โดยเราสามารถเลือกให้มันทำงานได้ 2 รูปแบบคือ สร้างเอง หรือ ใช้แบบที่เขาสร้างไว้ให้แล้ว
(1) แบบสร้างเอง ในรูปแบบนี้จะมีตัวเลือกให้เราเลือกว่า แอพเราจะเริ่มทำงานเมื่อไหร่ ซึ่งมี option พื้นฐานให้เลือกตามรูปด้านล่างนี้
(2) ใช้แบบที่เขาสร้างไว้ให้แล้ว
ในรูปแบบนี้จะเป็นตัวเลือกที่ทาง Microsoft สร้างการทำงานแบบคร่าวๆไว้แล้ว ซ฿่งเรามีหน้าที่ไปปรับแก้ว่าแอพเราอยากให้มันทำอะไรเพิ่มบ้างเท่านั้นเอง ซึ่งมีตัวเลือกเยอะม๊วกๆๆๆ ขอเอาแค่ตัวน่าสนใจมาให้ดูละกันนะ
ในตัวเลือกด้านบนจะมีตัว Connect ไปทำงานกับ Ethereum, Twitter, Facebook, Instagram, SAP, Slack, PowerBI, MailChimp และอื่นๆทีอีกมากมายให้ลองเลือกเล่นดู
ในตัวอย่างนี้ผมจะเน้นความเข้าใจเป็นหลัก ดังนั้นผมขอเลือกสร้างโดยใช้ HTTP Trigger ตามรูปด้านล่างนะครับ ซึ่งเราจะได้รับลิงค์มาตัวนึง แล้วเมื่อไหร่ที่มีคนเปิดลิงค์ของเราปุ๊ป แอพของเราก็จะเริ่มทำงานนั่นเอง
4.พอเลือกเสร็จเขาก็จะพามายังหน้าออกแบบแอพของเรา ซึ่งในรูปจะเห็นว่ามันจะทำงานเมื่อได้รับ HTTP request เข้ามา ซึ่งในขั้นตอนนี้ผมจะให้มันรองรับการเรียกแบบ HTTP Get ด้วย ดังนั้นให้เรากด Add new parameter แล้วติ๊กช่อง Method ครับ
5.หลังจากนั้นให้เลือก GET นะครับ เราจะได้เรียก Url ของเราผ่านเว็บได้ง่ายๆ
6.แล้วต่อมาก็กดปุ่ม Next step เพื่อกำหนดว่า ถ้าได้รับ HTTP request ละจะทำอะไรต่อ
7.ในตัวอย่างนี้ผมจะให้แอพผมโพสต์ Twitter เข้าไปที่ twitter account ผมนะครับ ดังนั้นก็ค้นหาว่า post twitter แล้วเลือก Post a tweet ได้เลยครับ
8.ถัดมาเขาก็จะให้ผมทำการ login เพื่อกำหนดว่าจะส่ง twitter เข้าไปที่ account ไหน ดังนั้นเราก็กด Sign in โลด
9.หลังจาก Login แล้วเขาก็จะถามว่าเราจะส่งอะไรบ้างเข้า twitter ซึ่งในข้อนี้ผมจะส่งแค่ข้อความอย่างเดียวนะ ดังนั้นก็เลือกแค่ Tweet text ครับ
10.ถัดมาเขาก็จะให้เราใส่ข้อความที่เราจะส่งเข้า twitter ครับ ซึ่งในตัวอย่างผมพิมพ์ว่า Test message ซึ่งในจุดนี้เขาจะมีกล่องตัวช่วยเปิดขึ้นมาด้านขวามือ ซึ่งกล่องนี้เราสามารถเลือกเอาข้อมูลต่างๆที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้าทุกตัวมาใช้ได้ครับ
ข้อแนะนำ ตัวเลือกด้านขวา เราสามารถทำ custom ค่าหรือเรียกใช้ function ต่างๆได้นะครับ เช่น หาผลรวม, ดูว่าข้อความยาวกี่ตัวอักษร หรือ ไปเอาข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้า เช่น ตอนที่มีคนเรียก HTTP เข้ามาเราสามารถไปอ่าน Request body เพื่ออ่าน Json ออกมาได้ด้วยนะครับซึ่งตัวอย่างพวกนั้นอยู่ใน วีดีโอด้านล่างแล้วครับ
11.ตอนนี้ผมคิดว่าตัวอย่างน่าจะโอเคละ ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายผมก็กดปุ่ม Save เพื่อบันทึกว่าโปรแกรมมันจะทำงานตามนี้นะ
สรุปการทำงาน เมื่อมีใครก็ตามกดลิงค์เข้ามาที่แอพของเราปุ๊ป โปรแกรมของเราก็จะทำการโพสต์ Twitter เข้าไปที่ account ผมทันทีนั่นเอง
1.หลังจากที่กด save ไปเรียบร้อยแล้ว ให้ลองเปิดกล่อง When a HTTP request is received ออกมาดูครับ เราจะเห็น ลิงค์ที่เขาสร้างเอาไว้ ให้เรากดปุ่ม copy ด้านขวามือครับ
2.ลองเอา Url ที่ copy มาไปเปิดใน web browser ดูครับผม ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาอะไรเราจะเจอหน้าขาวๆตามนี้ครับ
3.ลองเข้าไปดูใน Twitter ของเรากัน ก็จะเจอข้อความที่ Logic App เขียนเข้ามาครับ!
Twitter ผมไม่ต้องกดติดตามใดๆนะครับ เพราะผมไม่เคยโพสต์อะไรเลย มีแต่ Azure นี่แหละที่คอยโพสต์ให้ผมตอนที่ผมไปออกอบรม (ฮา)
4.สุดท้ายถ้าเรากลับไปดูที่ตัว Logic App ที่สร้างไว้ เราก็จะเห็นสถานะว่ามีการเรียก Url ของเราเข้ามาตอนเวลาไหน ทำงานสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้ด้วยนะ
5.ซึ่งภายในรายละเอียดก็จะบอกว่า ตัวแอพเราเรียกอะไรไปบ้าง ทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จที่ขั้นตอนไหน ซึ่งในจุดนี้เราสามารถกดดูรายละเอียดถ้า ถ้ามันทำไม่เสร็จเพื่อที่จะได้เตรียมไล่จัดการปัญหาต่อไปครับ
ในตัวอย่างนี้ผมจะลองให้มันส่งข้อมูลผ่าน HTTP POST ด้วย แล้วให้มันตัดสินใจต่อว่าจะทำการส่งอีเมล์ไปรายงานผลดีหรือเปล่าด้วยนะครับ
ในวีดีโอเหมือนผมโดนตัวอะไรซักอย่างไปพูดว่าเป็น PaaS ตลอดทั้งๆที่มันก็เขียนจั่วหัวว่าเป็น SaaS นะครับต้องขออภัยด้วย
เราสามารถเขียนแอพขึ้นมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็นเลยก็ได้ โดยใช้เจ้า Logic App ซึ่งข้อดีข้อนี้คือช่วยลดงานของ developer ลงอย่างมหาศาล เช่น ถ้าผลลัพท์น้อยกว่าเท่านี้เราจะต้องอีเมล์ไปแจ้งลูกค้านะ แต่ถ้าผลลัพท์เป็นแบบนี้เราจะต้องสั่งซื้อสินค้านะ บลาๆ ซึ่งปรกติเราจะต้องไปเขียนโปรแกรมนั่ง test ว่าโปรแกรมมี bug บลาๆต่อใช่ไหมล่ะ แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาใช้ Logic App แล้วละก็ คนชงกาแฟน้องๆที่เดินส่งเอกสารก็จะมีบทบาทเข้ามาช่วยลดเวลาของเหล่า developer ได้อย่างมหาศาลเลยไงล่ะ
ชื่อ
รายละเอียด
Name
ชื่อ Logic App ที่จะสร้าง
Location
ตัว Service นี้จะตั้งอยู่ที่ไหน (ทดสอบในไทยก็เลือก Southeast Asia นะ)
Log Analytics
จะให้มันเก็บบันทึกๆการทำงานต่างๆที่เกิดขึ้นกับ Logic App นี้ไหม (แล้วแต่เลยครับ)
ชื่อ
ลักษณะการทำงาน
When a HTTP request is received
เราจะได้ลิงค์มา 1 ตัวแล้วเมื่อไหร่ที่มีคนเปิดลิงค์ของเราปุ๊ป มันจะสั่งให้แอพของเราทำงานทันที
When a new tweet is posted
เมื่อมีคนโพสต์ Twitter เมื่อไหร่ มันจะสั่งให้แอพของเราทำงานทันที
Recurrence
ตั้งเวลา - เมื่อถึงเวลาที่กำหนด มันจะสั่งให้แอพของเราทำงานทันที
เช่นทุกๆ 5 นาที หรือ ทุกๆวันตอนเช้า บลาๆ
When a new email is received ...
เมื่อได้รับอีเมล์ใหม่ใน Outlook มันจะสั่งให้แอพของเราทำงานทันที