เซิฟเวอร์บนคลาว์ ราคา? ต่าง?

🤔 อยากทำเว็บบนคลาว์ต้องเสียตังป่ะ ?

แนะนำให้อ่าน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ส 👶 Azure Web App ซึ่งถ้าเพื่อนๆสนใจอยากรู้เทคนิคในการสร้างเว็บบนคลาว์แล้วล่ะก็ ลองกดเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากคอร์สหลักเอานะจ๊ะ

เวลาที่เราจะสร้างอะไรก็แล้วแต่บน Microsoft Azure นั้น เขาจะเขียนรายละเอียดต่างๆให้เราดูก่อนที่จะสร้างเสมอครับ เช่นตอนที่สร้าง Web App Service ก็จะมีรายละเอียดเรื่อง วิธีการใช้แต่ละภาษา มันจะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องอะไร และ รวมถึงราคาตามรูปด้านล่างเลย

ซึ่งเมื่อกดเข้าไปดูแล้วเราก็จะเจอกับหน้าเว็บประมาณนี้ครับ (หน้าเว็บที่เข้าไปอาจจะไม่เหมือนผมก็ได้นะ แล้วแต่ว่า Microsoft เขาอัพเดทเป็นยังไงบ้าง)

เพื่อนๆ สามารถกดลิงค์ได้จากตัวนี้เบย Pricing Details

อธิบายแบบรวมๆเลยนะว่า ถ้าเรามีเว็บซักตัว เราจะต้องเอาเว็บไปวางไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ซักเครื่องเพื่อให้มันเปิดเว็บต่างๆของเราได้ ซึ่งทาง Microsoft เขาได้แบ่งราคาค่าเครื่องไว้หลายแบบเลย ซึ่งดูได้จากรูปด้านบน แต่จุดที่น่าสนใจคือ มันมีแบบฟรีให้เราเล่นด้วย ไอ้กรอบแดงๆอ่ะ ซึ่งเซิฟเวอร์ที่เราจะไปใช้บริการแต่ละแบบก็จะมีความเหมาะสมกับงานและข้อจำกัดที่แตกต่างกันนั่นเอง

🤔 เซิฟเวอร์มีแบบไหนให้เลือกบ้าง ?

ทาง Microsoft ได้แบ่งเซิฟเวอร์ออกเป็น 3 ระดับง่ายๆตามนี้เลย

🔥 Dev / Test

คือเซิฟเวอร์ที่เหมาะเอาไว้ลองวิชา หรือ ลองทำชิ้นงานมาทดสอบเล่นๆกัน ผู้ใช้งานไม่ได้มีเยอะเท่าไหร่ไรงี้ ซึ่งในกลุ่มนี้จะแบ่งแยกย่อยลงไปอีกเยอะเลย ซึ่งแต่ละราคาก็จะเพิ่มความแรงของเครื่องขึ้นไปเรื่อยๆนั่นเอง

🔥 Production

คือเซิฟเวอร์ที่เราจะเอาไปใช้งานจริงจังแล้ว มีลูกค้ามาใช้งานจริงๆ รองรับโหลดหนักๆ ปรับความยืดหยุ่นต่างๆ ก็จะเป็นกลุ่มนี้

🔥 Isolated

กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ให้มาทั้งหมดไม่สะใจพอ เราอยากให้ทาง Microsoft ตั้ง server แยกออกมาเป็นของเราโดยเฉพาะเลยไรงี้ ก็สามารถที่จะติดต่อไปยัง Microsoft ได้นะ จุ๊ฟๆ

🤔 ราคาต่างกันแค่เครื่องแรงขึ้นเท่านั้น ?

ไม่ช่ายยยยย เครื่องแรงขึ้นเป็นแค่ส่วนนึงที่เราได้ แต่ความต่างกันอีกเรื่องคือ ความสามารถพิเศษ ที่เขาจะเปิดให้เราใช้งานได้นั่นเอง เช่น

🔥 ตัวเซิฟเวอร์ฟรี

สิ่งที่เราได้ก็คือแค่ตัวเซิฟเวอร์ที่ทำงานได้จริงๆเท่านั้นตามรูปเลย เขาให้ Domain เป็นอะไรมาก็จะต้องใช้ตามที่มีเท่านั้น เช่นได้ http://saladpuk.azurewebsites.net เราก็ต้องจำใจใช้เจ้านี้อย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นลองไปดูตัวถัดไป

🔥 เซิฟเวอร์แบบแชร์

เจ้าตัวนี้ก็จะเพิ่มของมานิดหน่อยนั่นคือ การทำ Custom Domain นั่นเอง ทำให้เราสามารถเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บเท่ๆได้แล้วแบบ http://saladpuk.com นั่นเอง

🔥 แบบ Production - S1

คราวนี้ในตัวที่เป็นฝั่ง Production บ้างเราก็จะเห็นความสามารถต่างๆเหล่านี้เพิ่มเข้ามา ซึ่งแต่ละตัวคืออะไรให้กลับไปอ่านที่บทความหลักของเรื่องนี้เอานะ ซึ่งแต่ละตัวเด็ดๆทั้งนั้นเลย

🤔 ต้องจ่ายทุกครั้งเลยเหรอ ?

ตอบแบบง่ายๆก็ไม่ต้องครับ ถ้าเราแค่อยากลองเล่นก่อนก็เลือกตัวฟรีก็ได้ ซึ่งไม่ว่าจะเลือกตัวฟรีหรือตัวเสียเงินก็ตาม เราก็จะได้เซิฟเวอร์มา 1 ตัวเหมือนกัน ซึ่งเจ้าเซิฟเวอร์ที่ได้มานี้ เราอยากจะเอาเว็บกี่ตัวไปวางไว้ในนั้นก็แล้วแต่เราเลยครับ ส่วนมันจะรับไหวหรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของผู้ใช้ที่เข้ามาเล่นเว็บเรานั่นเอง

คำเตือน แม้ผู้ใช้งานจะไม่เยอะ แต่ถ้าเราออกแบบระบบไม่ดี เขียนโค้ดกากๆทิ้งไว้เต็มไปหมด สุดท้ายเราก็อาจจะต้องเสียเงินมากกว่าที่เราควรจะต้องจ่ายก็ได้นะ และต่อให้เป็นเซิฟเวอร์ที่เราซื้อมาใช้เองที่บริษัทก็ตามเรื่องพวกนี้ก็จะตามไปหลอกหลอนเราเรือยๆอยู่นะ

🎯 บทสรุป

การคิดเงินในการตั้งเว็บไซค์บนคลาว์จริงๆก็ไม่ได้ยากหรอก แต่จริงๆบนคลาว์จนั้นมีวิธีการคิดเงินหลายแบบเลย ซึ่งผมได้สรุปรวมวิธีการดูแบบง่ายๆเอาไว้ในลิงค์ด้านล่างนี้แล้วครัช

Last updated