Command
Command
Encapsulate a request as an object, thereby letting you parameterize clients with different requests, queue or log requests, and support undoable operations.
🎯 เป้าหมายของ pattern นี้
เปลี่ยน Action ต่างๆให้กลายเป็น object ทำให้โปรแกรมจัดการ action ที่เข้ามาได้หลายรูปแบบ เช่น Undo, Redu
✌ หลักการแบบสั้นๆ
ตัวนี้ยาวมากรบกวนไปอ่านเองละกัน ใครสรุปสั้นๆได้บอกผมด้วย (Fork ออกไปแล้ว pull request เข้ามาก็ได้)
😢 ปัญหา
วันนี้นึกสนุก เลยเขียนโปรแกรม Text editor ขึ้นเล่นๆตัวนึง ซึ่งภายในโปรแกรมนี้จะมี Toolbar อยู่ด้านบน ซึ่งภายในนั้นจะมีปุ่มต่างๆให้กดมากมาย ซึ่งปุ่มทุกปุ่มเราสร้างมาจาก Button
class ตามรูป
เนื่องจากปุ่มที่อยู่บน toolbar มันมีการทำงานหลายแบบซึ่งไม่เหมือนกันเลย เราเลยต้องสร้าง subclass ของมันออกมา เพื่อให้มันทำงานในรูปแบบต่างๆกันได้ เช่น ปุ่มตกลง
, ปุ่มยกเลิก
, ปุ่มบันทึก
บลาๆ ตามรูปด้านล่าง
เมื่อเขียนเสร็จ เราก็พึ่งเอะใจว่า นั่นมันโค้ดบ้าอะไรกันฟระเนี่ย subclass ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด หยั่งกะแมลงสาบ!! ยิ่งมีปุ่มบน toolbar เพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ subclass ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
และยังมีเรื่องน่าเกลียดอีกเรื่อง เมื่อเรามองปุ่มต่างๆในโปรแกรมเราแล้วจะเห็นว่า ปุ่มบันทึก ที่อยู่บน toolbar, ปุ่มบันทึก ที่อยู่บนเมนู หรือแม้กระทั่ง ปุ่มบันทึก ที่อยู่ในเมนูลัด ทั้งหมดจริงๆมันก็คือโค้ดตัวเดียวกันนิหว่า!! เราแค่ไปสร้าง subclass ใหม่ แล้ว copy โค้ดเดิมไปใส่ใน subclass พวกนั้นเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรต่างกันเลยนิหว่า!!
ในตอนนี้ Button class มันผิดกลับที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก เพราะช่วงแรกๆที่ออกแบบไว้ ปุ่มบันทึกมันมีแค่ใน toolbar เท่านั้น แต่พอทำไปซักพัก มันก็เริ่มมีปุ่มบันทึกตรงนั้น ตรงนู้น ตรงนี้ เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ มันเลยทำให้โค้ดเรา มีกลิ่นไม่ดี
ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
โดเรม่อนวันนี้เสนอตอน โค้ดมีกลิ่นไม่ดี (เคยดมมั่นปะ?) เรื่องของการที่โค้ดมีกลิ่นไม่ดีนั้น เป็นคำที่เอาไว้พูดถึงโค้ดที่มีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาในอนาคตสูง เช่น โค้ดเดียวกันถูกเขียนซ้ำๆหลายๆที่, ออกแบบแล้วคลาสใหญ่ม๊วกกกก บลาๆ ปัญหาพวกนี้เรามีเทคนิกที่ช่วยตรวจในเบื้องต้นที่เรียกกันว่า
Code smell
นั่นเอง (ไปหาอ่านต่อกันเองเด้อถ้าว่างอาจจะเอามาแนะนำ)
แล้วเราจะแก้ปัญหากลิ่นคาวปลานี้ยังไงดีละ? (แหวะ)
😄 วิธีแก้ไข
ก่อนที่จะไปต่อขออธิบายหลักปฎิบัติที่ชื่อว่า Separation of concerns (SoC) นิ๊สนุง
Separation of concerns (SoC) คือหนึ่งใน design principle ซึ่งหลักการมีอยู่ว่า เราควรจะแยกงานออกเป็นส่วนๆ ตามหน้าที่การรับผิดชอบของมัน (จบเท่านี้ละกันเดี๋ยวจะยาว ไปหาอ่านต่อเองนะจุ๊)
ดังนั้น ถ้าเรามองกลับไปว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับโค้ดเรา เราก็จะพบว่า เมื่อผู้ใช้กดปุ่มเซฟที่หน้า UI สิ่งที่มันเกิดขึ้นคือ มันจะไปเรียกใช้ method บันทึกโดยตรงได้เลย
นั่นหมายความว่ามันขัดกับหลักการของ Separation of concerns เลยนิน่า (ยังไงหว่า?)
งั้นอธิบายต่ออีกนิสกะด๊าย
ตัวอย่างการผิดหลัก Separation of concerns (SoC) โดยปรกติการแสดงผลต่างๆของโปรแกรม เช่นหน้าตาความสวยงาม เราจะแยกมันออกเป็น concern ในด้าน UI layer (เพราะงานมันคือต้องดูแลความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น) แต่การที่เมื่อปุ่มถูกกด มันกลับไปเรียกใช้การบันทึกได้ตรงๆเลย ซึ่งเรื่องการบันทึกเป็นงานฝั่ง Business logic layer ต่างหาก ดังนั้นการที่ UI ไปบันทึกข้อมูลได้ มันเลยเป็นการเอางานของ Business logic มาไว้ใน UI มันเลยผิดหลักการเพราะไม่ทำการแยก concern ออกจากกัน
จากที่ UI layer ไปเรียก Business logic layer ตรงๆ พอผู้ใช้กดปุ่มบันทึกมันเลยทำให้โค้ดเรามันออกมาเป็นภาพนี้
ซึ่งแนวคิดของ Command Pattern
เสนอว่า ให้เปลี่ยนของที่ผู้ใช้กระทำ (Action)
มาเป็น object ซะ และถ้ามันต้องมีข้อมูลอะไรที่เกี่ยวข้อง ก็ให้ยัดเข้ามาใน object นั้นด้วยเลย ซึ่ง object พวกนั้นเราเรียกมันว่า Command
นั่นเอง
เมื่อปุ่มถูกกดบันทึก มันจะไม่บันทึกข้อมูลแต่มันจะไปสร้าง command object ขึ้นมา ซึ่งเจ้าตัว command object นี้แหละจะเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่าง UI layer กับ Business logic layer
เมื่อเป็นแบบนี้จะทำให้ UI layer แยกจาก Business logic layer แล้ว ตามภาพเลย
ตัว Command ทุกตัวจะ implement Interface
เดียวกัน ซึ่งเจ้า interface นั้นจะมีแค่ Execute()
method เท่านั้น ทำให้คนที่ส่ง/รับ command ไม่ต้องผูกติด (coupling) กับ concrete command ใดๆ
แล้วข้อมูลต่างๆที่จะส่งไปกับ command ละ? เช่นกดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเปลี่ยนเป็นสีแดง มันจะต้องส่ง สี
เป็น parameter ไปด้วยนิน่า
คำตอบคือ เจ้าตัว command เองนั่นแหละที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ด้วย ตามภาพเลย
ในตอนนี้เวลาที่เราจะสั่งให้มันทำอะไร เราก็จะเปลี่ยนคำสั่งให้อยู่ในรูปของ Command object
ส่วนคนที่สร้าง command object จะส่ง object นี้ไปให้กับสิ่งที่เรียกว่า Invoker
ซึ่งเจ้า invoker นี้จะสั่งให้ command object ทำงานต่ออีกทีหนึ่ง
และสุดท้าย command object ก็จะส่งงานต่อไปให้กับตัวที่ทำงานที่แท้จริง นั่นคือตัวที่ชื่อว่า Receiver
นั่นเอง
สรุป แทนที่เราจะให้ UI ทำงานตรงๆเลย เราจะมีกลุ่มของ command หลายๆตัว ซึ่ง command แต่ละตัวจะรู้ว่า เมื่อจะต้องทำงาน มันจะต้องส่งงานต่อให้กับ receiver ตัวไหนไปทำงานต่อ และเมื่อ UI จะสั่งให้ทำงาน มันจะสั่งงานผ่าน invoker นั่นเอง
📌 โครงสร้างของ pattern นี้
อธิบาย 1.Invoker - เก็นคนที่เก็บ command ต่างๆที่มี ไว้ให้ client เรียกใช้เมื่อต้องการ โดยมันจะสั่งให้ command object ไปทำงานต่อ 2.Command - เป็น interface มาตรฐานให้กับ concreate command ปรกติจะมีแค่ Execute() method เดียว 3.Concrete Commands - เป็นตัวเก็บข้อมูลของงานที่จะทำ และรู้ว่า receiver ตัวไหนจะมารับงานไปทำต่อ 4.Receiver - คือคนที่เอางานไปทำจริงๆ (Business logic จะอยู่ที่นี่) 5.Client - เป็นคนสร้าง concrete command object เพื่อส่งต่อไปให้กับ invoker ทำงาน
🛠 ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
สมมุติว่าผมต้องการเขียนโปรแกรม รีโมตทีวี โดยมันจะต้อง เปลี่ยนช่องทีวี, เปิดทีวี, ปิดทีวี ได้ และยังรองรับคำสั่ง Undo และ Redu ด้วย (เจ๋งปะละ?)
ปะไปดูโค้ดตัวอย่างกัน
👍 ข้อดี
ทำให้โปรแกรมรองรับ Undo/Redo (CTRL+Z กับ CTRL+Y)
สามารถสั่งงาน command เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องให้มันทำทันที
👎 ข้อเสีย
เพิ่มความซับซ้อนให้กับโค้ด เพราะต้องไปสร้าง class มากมาย
📝 Code ตัวอย่าง
Note
สำหรับภาษา C# นั้นทีมพัฒนาได้เตรียม interface สำหรับทำ Command ไว้ให้แล้วนะโยมนะ ซึ่ง interface ตัวนั้นชื่อว่า ICommand
โยมไม่ต้องไปเขียนใหม่ให้เมื่อยมือหรอก กดที่นี่เพื่ออ่านต่อ
Output
Last updated