เก็บรูปในฐานข้อมูล

🤔 ไฟล์รูปปรกติเขาเก็บกันยังไงนะ ?

😥 ปัญหา

เวลาที่ทำแอพอะไรก็ตาม แล้วมันต้องมีการเก็บรูปที่ผู้ใช้อัพโหลดเข้ามา ดช.แมวน้ำ แมวน้ำเจอบ่อยมากที่ developer จะชอบเอาไฟล์รูปไปเก็บไว้ใน database ! 😱 ซึ่งถามว่าทำได้ไหม? คำตอบคือทำได้ครับ แต่มันจะเหมาะสมหรือเปล่า? ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าจริงๆแล้วเราควรจะเก็บรูปยังไง? และ ทำไม?

แนะนำให้อ่าน สำหรับใครที่ยังออกแบบ database ไม่เป็น ยัง งงๆ อยู่ว่าตารางนี้ควรจะเก็บอะไรดี หรือ Normalization คืออะไร? ความรู้ส่งคืนครูหมดแล้ว ก็สามารถไปศึกษาต่อได้จากลิงค์นี้เบยครัช 👶 บทสรุปฐานข้อมูล

🤔 เก็บรูปในฐานข้อมูลผิดตรงหนาย ?

ตามที่เกริ่นไปด้านบนว่า มันก็เก็บได้นะ แต่ปรกติทั่วโลกเขาไม่เก็บไว้ในนั้นกัน ส่วนสาเหตุหลักๆมาจาก 2 เรื่องตามด้านล่างเบย

💳 ค่าใช้จ่าย

ถ้าใครที่เคยจ่ายค่า database ด้วยตัวเองก็น่าจะพอทราบว่า ขนาดความใหญ่ของฐานข้อมูล ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ราคาจะถูกลงหรือแพงขึ้นด้วย ดังนั้นยิ่งเราทำให้ข้อมูลเราเล็กได้มากเท่าไหร่ เราก็จะประหยัดได้มากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง

❓ มีน้องๆ developer หลายคนสงสัยกันต่อว่า แต่บางทีไฟล์รูปที่เก็บมันก็เล็กๆแค่ไม่มี 10KB เองนะ มันจะทำให้ฐานข้อมูลโตได้ยังไงอ่ะ ?

จากคำถามด้านบนผมลองเปรียบเทียบให้ดูง่ายๆแบบนี้ละกัน โดยสมมุติว่าผมต้องการจะเก็บรูปด้านล่างนี้เข้าฐานข้อมูล ซึ่งมันมีขนาดแค่ 29.6KB เพียงเท่านั้นเอง

ซึ่งก็จริงว่ามันก็ดูเหมือนจะไม่ได้ใหญ่โตอะไรเท่าไหร่เลยชิมิ? งั้นคราวนี้ผมจะลองสร้างไฟล์ text ที่มีขนาด 29.6KB ดูบ้างนะ ซึ่งมันก็จะประมาณรูปด้านล่างนี่แหละ ซึ่งลองสังเกต scroll bar ดูนะว่ามันยาวแค่ไหน

สำหรับใครที่ไม่จุใจอยากเบิกเนตรดูเต็มตาก็โหลดไฟล์ด้านล่างไปดูก็ได้

จากที่ว่ามาไฟล์ขนาด 29 KB ดูเหมือนว่ามันจะเล็กๆเอง แต่เมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลตัวอักษรแล้วเราจะพบว่า ตัวอักษรมันมีขนาดเล็กกว่ามากเบย ซึ่งจากรูปด้านบนผมว่าเอาไปเขียนหนังสือจบ 1 บทแน่ๆเลย

เกร็ดความรู้ ตัวอักษรที่เราพิมพ์ๆกันอยู่นั้นมีขนาด 1 Byte เพียงเท่านั้นเอง

แล้วลองคิดดูว่าถ้าเราต้องเก็บไฟล์รูปเข้าไปในฐานข้อมูลสำหรับหรับทุก record เลยมันจะเกิดอะไรขึ้น ? เอาง่ายๆนะแค่เราเก็บรูป Profile (29.6KB) ในตารางผู้ใช้ แล้วเรามีคนใช้งานระบบเราซัก 1,000 คน พื้นที่ในฐานข้อมูลเราก็ใหญ่ราวๆ 30 MB ได้แล้ว

แต่ในทางกลับกันถ้าเราเก็บข้อมูลเป็น text อย่างเดียว ผมเชื่อว่ามันเก็บข้อมูลผู้ใช้ได้น่าจะราวๆ 5 แสนถึง 1 ล้าน คนแน่นอน (ขึ้นอยู่กับเก็บอะไรบ้าง)

มุมชวนคิด เพียงแค่เราเก็บรูปโปรไฟล์ของผู้ใช้ 1,000 คนลงในฐานข้อมูล เราก็จะต้องจ่ายเงินเท่ากับเรามีผู้ใช้ 5 แสนถึง 1 ล้านคนละ (แพงขึ้น 100~1,000 เท่า+) รูปโปรไฟล์มันสำคัญขนาดนั้นเลยเหรอ? และถ้าเรามีผู้ใช้ 1 ล้านคนล่ะ ? (มันก็จะโตขึ้น 30 GB เลยนะ!! นี่มันเก็บหนังได้กี่เรื่องฟร๊าา 😱)

ลองมาดูราคาที่แท้จริงกันดีกว่า สมมุติว่าเรามีฐานข้อมูลขนาด 100 GB เราจะต้องจ่ายสูงสุดปรมาณ $ 25 USD ตามรูปด้านล่าง

💨 Performance

ทำไมการเก็บไฟล์รูปลงฐานข้อมูลถึงส่งผลให้ ประสิทธิภาพตกลง นะเหรอ? นั่นก็เพราะว่าตัวฐานข้อมูล (ส่วนใหญ่) มันถูกออกแบบมาให้ทำงานกับข้อมูลที่เป็น Simple type ยังไงล่ะ เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข, true/false, วันที่และเวลา ไรพวกนี้ ซึ่งไฟล์รูปที่เก็บอยู่ใน database มันก็ทำงานด้วยได้นะ แต่ข้อมูลพวกนั้นมันจะไม่รู้เรื่องเพราะไฟล์รูปมันอยู่ในรูปแบบของ bytes ยังไงล่ะ และมันก็จะเป็นภาระเวลาที่เราดึงข้อมูลออกมาใช้งานด้วย เช่น แค่จะไปดึงข้อมูลผู้ใช้ออกมา มันก็ต้องไปดึงข้อมูลรูปพวกนั้นขึ้นมาอัดไว้ใน Memory ซึ่ง RAM มันมีจำกัดและราคาแพงม๊วกกกกกกก แถมยังก่อให้เกิดปัญหาเวลาที่เราส่งข้อมูลกลับไปให้ client ด้วย เพราะมันจะเปลือง network bandwidth อีกด้วย ลองดูราคาด้านล่างเอาละกัน หรือจะไปดูราคาเต็มๆของเซิฟเวอร์ทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้ Microsoft - VM Pricing

แนะนำให้อ่าน แนวคิดพื้นฐานในการทำงานกับ database ที่เหล่าโปรแกรมเมอร์บ้านเราไม่ค่อยรู้ ไปอ่านแล้วทำความเข้าใจได้จากบทความนี้ เพราะมันโคตรสำคัญ ไม่งั้นต่อให้ทำทุกอย่างดีแค่ไหน แต่เรื่องนี้เรื่องก็ทำให้ระบบอืดจนเต่าแซงหน้าได้ หัวใจที่สำคัญที่สุดของฐานข้อมูล (🤔 ความรู้เบื้องต้นของฐานข้อมูลที่โปรแกรมเมอร์ 90% ไม่รู้)

🤨 เคยอ่านเจออีกแบบนิ

สำหรับแมวน้ำบางท่านอาจจะเคยอ่านเจอว่า Blob ในฐานข้อมูลสมัยนี้มันดีขึ้นมาแล้วนะ ไปเก็บในนั้นได้เหมือนเดิม แล้ว ซึ่ง ดช.แมวน้ำ ขอตอบแบบคร่าวๆว่า จริงครับสมัยนี้อะไรๆก็ดีกว่าสมัยก่อน เขาพัฒนาให้ดีขึ้นเยอะแล้ว แต่ถ้ามองในแง่ของการทำ Scaling เพื่อรองรับผู้ใช้ปริมาณมากๆแล้ว database ก็ยังเป็นคอขวดที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของระบบอยู่ดี ดังนั้นในมุมของการทำให้ระบบรองรับการขยายตัวเพื่อรองรับผู้ใช้งานปริมาณมหาศาลแล้ว (Large Scalable Architectures) เราควรจะแยกของต่างๆออกจากกัน เพื่อให้เราสามารถ ลดขวด ให้ได้มากที่สุด นั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ database ถนัดที่สุดก็คือการ เก็บข้อมูลที่เป็น simple type และ การประมวลผลคณิตรศาสตร์พื้นฐาน ไม่ใช่การเก็บไฟล์รูปแบบอื่นๆ ดังนั้นเราก็ควรจะเอาหน้าที่เก็บไฟล์รูปแบบอื่นๆไปเก็บไว้ใน service ที่เหมาะสมกับมันนั่นเอง

จากรูปด้านล่างเป็นตัวอย่างการทำ Scalable ของตัวเว็บเพื่อรองรับผู้ใช้ปริมาณมากๆ ซึ่งข้อสังเกตคือเขาจะแยกหน้าที่การทำงานแต่ละอย่างออกมา โดยตัวไหนเก่งเรื่องอะไรก็ไปทำเรื่องนั้นซะ และ ถ้ามีอะไรที่สามารถช่วยลดภาระงานของอีกตัวได้ก็เอามาช่วยลดซะ เพราะการทำแบบนี้มันจะเป็นการลดคอขวดลง แล้วถ้าเราไปเจอคอขวดในระบบ เราก็จะสามารถขยายให้จุดนั้นมันแรงขึ้นเพื่อให้รองรับปริมาณการใช้งานได้นั่นเอง

ข้อควรระวัง สมมุติว่าเราไม่กระจายงานออก แล้วไปพบว่ามันเป็นคอขวดภายหลัง วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือการ ขยายกำลังเครื่องในจุดที่เป็นคอขวด ซึ่งมันก็อาจจะแก้ได้ก็จริง แต่ประเด็นคือ เราอาจจะได้จ่ายเงินมากกว่าที่ควร เช่น ในจุดนั้นมันอาจจะมีงานที่รับผิดชอบ 10 เรื่อง แต่เป็นคอขวดแค่ 1 เรื่อง ซึ่งถ้าเราขยายกำลังเครื่อง มันก็จะต้องขยายทั้ง 10 เรื่องนั้นด้วย (เพราะเราไม่แยกงานมันออกเป็นแต่ละ services) เลยทำให้เราต้องจ่ายเงินเพิ่มให้กับสิ่งที่มันไม่ได้มีปัญหาด้วยนั่นเอง

คำเตือน ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นหลักในการทำ Large Scalable Architectures ซึ่งใช้ได้กับ Database ส่วนใหญ่เท่านั้น ซึ่งมันก็จะมี database ที่ออกแบบมาทำงานอีกประเภทนึงโดยเฉพาะเหมือนกัน ซึ่งตัวไหนเก่งอะไรยังไง ต้องให้แมวน้ำแต่ละท่านไปศึกษาตัวที่ใช้อยู่เองแล้วล่ะขอรับ

😄 วิธีแก้ปัญหา

ก็น่าจะพอเห็นภาพความบาปในการเก็บไฟล์รูปในฐานข้อมูลแล้วนะ วิธีการแก้กรรมหนักนี้คือการไปทำบุญล้างป่าช้า เพื่อนำเหล่าไฟล์ภาพออกจากฐานข้อมูลของเราไปเก็บไว้ในที่ชอบๆของมันนั่นเอง (ซี๊ดดดดดด กาวยี่ห้อใหม่ใช้ดี)

ซึ่งจากที่ว่ามาทั้งหมดเราก็พอจะรู้แล้วว่า ฐานข้อมูลไม่ใช่ที่เก็บไฟล์รูป ดังนั้นเราก็ควรจะย้ายไฟล์รูปทั้งหมดไปไว้ในที่ๆสมควรของมันนั่นเอง และ ฐานข้อมูลควรจะเก็บข้อมูลที่เป็น Simple type ดังนั้นเราก็แค่เก็บ URL ของไฟล์รูปพวกนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้วนั่นเอง

🤔 แล้วจะเก็บรูปไว้ที่ไหน ?

จะเก็บไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ความสะดวกของแมวน้ำแต่ละตัว เช่น จะเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ตัวเอง หรือ จะเอาไปไว้พวกเว็บฝากไฟล์ก็ได้ ขอแค่เราได้ URL ที่สามารถเข้าถึงได้ก็พอ (ส่วนเรื่อง privacy ก็จัดการกันเอาเองนะ)

ถ้าปิดจบแบบด้านบนก็ดูเหมือนจะใจร้ายไปหน่อยเอาเป็นแบบนี้ละกัน โดยปรกติ ดช.แมวน้ำ จะเก็บไฟล์ไว้ใน Cloud Service เพราะมันถูกม๊วก และสามารถควบคุมสิทธิ์และ privacy ได้แบบถึงลูกถึงคนเลย ชนิดที่ว่า Hack ไม่เข้าแน่นอน จะหลุดก็ต่อเมื่อเราเป็นคนตั้งค่าผิดกับมือเอง ส่วนเรื่องราคาก็ตามรูปด้านล่าง สมมุติว่าเก็บไฟล์ 100 GB ไว้ทั้งเดือนก็จ่ายแค่ $2 USD (60-70 บาท) เท่านั้นเอง

แต่ถ้าเป็นไฟล์ที่นานๆๆๆครั้งจะมาเปิดดู ก็จะยิ่งถูกลงไปกว่านั้นได้อีก 100 GB จ่ายแค่ $0.2 USD (6~7 บาท) ต่อเดือนเท่านั้นเอง ตามรูปด้านล่างเบย

แนะนำให้อ่าน สำหรับเพื่อนที่สนใจตัวเก็บไฟล์ตัวนี้ว่าจะใช้งานยังไงทำอะไรได้บ้าง ก็สามารถไปศึกษาต่อได้จากบทความนี้เลยครัช Blob storage ซึ่งมันเป็นส่วนหนึ่งของคอร์ส 👶 Azure Storage ถ้าสนใจดูเนื้อหาของคอร์สทั้งหมดก็กดที่ชื่อไปดูได้เบย

🎯 สรุป

โดยรวมการทำงานกับฐานข้อมูลคือ ใช้งานมันให้ถูกวิธี และ ข้อมูลก็ต้องเก็บให้ถูกตามความถนัดของมันด้วย เพราะตัว database จริงๆมันเก่งและเร็วมาก ถ้าเราใช้งานมันได้ถูกต้อง ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาคือใช้งานมันไม่ถูก ดังนั้นแนะนำให้เพื่อนๆไปอ่าน Best Practices ของตัว database ที่ตัวเองใช้อยู่ด้วย ถึงจะสามารถรีดความสามารถมันออกมาได้เต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

แนะนำให้อ่าน ถ้าสงสัยว่าทำไมแอพมันช้าลองไปทำความเข้าใจเรื่อง คอขวด ของระบบจากบทความด้านล่างนี้ดู แล้วจะเข้าใจว่าผองเพื่อนของความช้านั้น เกิดจากอะไรได้บ้างครัช 👦 Bottlenecks of Software

Last updated