28.Exception handler
Last updated
Last updated
💬 เคยไหมโปรแกรมที่เราเขียนพอทำงานอยู่ดีๆก็เด้งปิดโปรแกรมไป หรือไม่ก็เจอข้อความแปลกๆเต็มจอไปหมดแล้วโปรแกรมก็เด้งไป ถ้าเจอปัญหาพวกนั้นแสดงว่าในโค้ดของเรามันมี error เกิดขึ้น ซึ่งเราจะต้องจัดการกับ error เหล่านั้นไม่ให้โปรแกรมเด้งออก ซึ่งตัวที่จะมาช่วยเราจัดการ error นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า Exception handler นั่นเอง
ตัวช่วยในการดักจับข้อผิดพลาดต่างๆในโปรแกรม ซึ่งเราจะใช้ตัวดักจับ error ไปครอบโค้ดที่มีความเสี่ยงว่ามันอาจจะเกิด error เอาไว้ ส่วนถ้ามันเกิด error ขึ้นจริงๆ เราก็จะสามารถเขียนโค้ดในการตัดสินใจต่อได้ว่าควรจะทำอะไรกับมันต่อ ตามโค้ดด้านล่าง
ตอนที่เกิด error ขึ้น เราสามารถเลือกได้ว่า "ถ้าเกิด error แบบ A เราจะจัดการแบบนี้ หรือ "ถ้าเกิด error แบบ B ให้จัดการแบบโน้น" ก็ได้เหมือนกันนะ โดยการระบุประเภทของ exception ลงไปใน catch ตามตัวอย่างด้านล่าง
Exception คือต้นตระกูลของ exception ทุกตัว ดังนั้นถ้าเกิด error ที่เกิดขึ้น ไม่ตรงกับ catch ตัวไหนเลย มันจะเข้าไปที่ Exception
Exception ถ้ามี catch หลายๆตัว ห้ามเอา Exception ไปไว้ใน catch ตัวแรก เพราะถ้ามันเกิด error ขึ้นมันจะเข้า catch(Exception e) ตัวแรกที่วางไว้โดยไม่สนใจ catch อื่นๆด้านล่างเลย
คือ block ที่ระบุว่า ไม่ว่าจะทำแล้วเกิด error ขึ้นหรือไม่ หลังจากทำ try หรือ catch เสร็จ มันก็จะมาทำโค้ดใน block ของ finally เป็นลำดับถัดไปนั่นเอง
คือคำสั่งที่บอกว่า ณ โค้ดจุดนั้นจะไม่ขอจัดการ error นี้แล้ว และจะทำการส่ง error นั้นๆไปให้กับ โค้ดที่เรียกมันรับหน้าที่จัดการต่อ
หรืออยู่ๆ เราอยากจะโยน error ออกจาก method ดื้นๆทั้งๆที่ยังไม่เกิด error ก็ได้ เช่น ผมเขียน method ที่รับชื่อเข้ามา ซึ่งถ้าส่งชื่อเข้ามามันจะทักทาย แต่ถ้าส่ง null หรือช่องว่างเข้ามามันจะส่ง error ออกไปแทน เราก็จะได้โคีดตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ
เวลาที่เราส่งต่อ exception เราสามารถกำหนด message ให้กับ exception ที่ส่งต่อได้ เพื่อให้คนที่รับผิดชอบสามารถรู้ได้ว่า error ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไร ตามตัวอย่างด้านล่าง
Exception message เวลาที่เราใส่ message ให้กับ exception object ลองกดดู overload ของมันด้วยนะ เพราะมันมี overload ให้เราเลือกเยอะม๊วก
นอกเหนือจาก exception มาตรฐานที่ Microsoft เตรียมไว้ให้แล้ว ถ้าเรามี exception แบบพิเศษในแบบของเราเอง เราก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดยการสร้างคลาสธรรมดานี่แหละไปสืบทอดจากพวก exception class
คำเตือน โดยปรกติเราจะไม่สร้าง Custom exception เท่าไหร่นะ เพราะของที่มีมากับ .NET อยู่แล้วมันค่อนข้างจะสมบูรณ์ด้วยตัวมันเอง ผมแนะนำว่าลองศึกษา Exception ที่มีมาให้เสียก่อนว่าเพียงพอต่อการใช้งานของเราหรือเปล่า ซึ่งถ้าดูแล้วมันไม่เพียงพอต่อการใช้งานจริงๆเราค่อยทำการ Custom มันก็ได้ครับ
โดยปรกติการใช้ try/catch มันจะทำให้ความเร็วในการทำงานตกลง ดังนั้นในทางปฏิบัติจริงๆเราควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ try/catch ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นการตรวจสอบก่อนว่าค่านั้นๆเป็น null หรือเปล่า หรือตัวหารเป็นศูนย์หรือเปล่า ก่อนที่จะนำตัวแปรพวกนั้นไป execute จริงๆนะครับ ตามตัวอย่างโค้ดด้านล่างเลยเป็นการป้องกันตัวหารเป็นศูนย์